สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 61 วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ● การค้นพบยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน (มีรายละเอียดเพิ่มเติม) ● การสังเคราะห์พอลิคาร์บอเนต (PC) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์เชิงวิศวกรรม โดยแดเนียล ฟอกซ์ (Daniel Fox) ของบริษัท General Electric (GE) ในตอนแรกเขาตั้งใจจะใช้ bi-guaiacol ในการสังเคราะห์ PC แต่คลังเก็บสารเคมีของบริษัทไม่มีสารชนิดนี้ มีแต่ bis-phenol A ซึ่งเขาไม่ได้วางแผนจะใช้ แต่ก็ตัดสินใจ ลองใช้ดู หากเขาเบิกสารตัวแรกที่ต้องการใช้มาได้ การสังเคราะห์ PC จะยังไม่ส� ำเร็จเลย ● 3M post-it notes (มีรายละเอียดเพิ่มเติม) ● การค้นพบ blue LED (LED แสงสีน�้ ำเงิน) ซึ่งเกิดจากการปลูกผลึก GaN ที่อุณหภูมิต�่ ำกว่า ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส เหลือ ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส เนื่องจากเตาเผามีปัญหาขัดข้อง (มีรายละเอียด เพิ่มเติม) การปรับสภาพยางธรรมชาติโดยกระบวนการวัลคะไนเซชัน ยางธรรมชาติที่ยังไม่ได้ผ่านการอบปรับสภาพ (uncured natural rubber) เป็นยางที่เหนียว หนืด และเสียรูปได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น แต่จะเปราะเมื่ออากาศเย็นจัด จึงเป็นวัสดุที่ไม่เหมาะสมหาก ต้องการความยืดหยุ่นสูง เหตุผลที่ยางเสียรูปได้ง่ายเป็นเพราะโครงสร้างทางเคมีของยางธรรมชาติซึ่งประกอบ ด้วยโซ่พอลิเมอร์ยาวจ� ำนวนมากที่ปราศจากจุดเกี่ยวติดกันระหว่างโซ่ ดังนั้น โซ่เหล่านี้จึงสามารถเคลื่อน ไปมาอย่างค่อนข้างอิสระโดยไม่ขึ้นอยู่กับกันและกัน ท� ำให้วัสดุเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ง่ายเมื่อได้รับแรงดึง หรืออากาศอุ่นขึ้น การเชื่อมขวาง (crosslinking) ของโซ่พอลิเมอร์ท� ำได้โดยใช้กระบวนการวัลคะไนเซชัน ด้วยก� ำมะถัน เพื่อขัดขวางไม่ให้โซ่พอลิเมอร์เคลื่อนไหวไปมาอย่างอิสระจากกันและกัน ผลก็คือ เมื่อใส่ แรงดึง ยางดังกล่าวจะยืดเปลี่ยนรูปทรง แต่เมื่อคลายแรงดึง ยางจะคืนสู่รูปเดิมโดยสมบูรณ์ รูปที่ ๑ แสดงโซ่ ยาว ๒ เส้นของยางธรรมชาติหลังจากผ่านกระบวนการวัลคะไนเซชันโดยมีธาตุก� ำมะถัน (S) เป็นตัวเชื่อมติด ระหว่างโซ่ นายกู๊ดเยียร์ค้นพบกระบวนการดังกล่าวโดยบังเอิญเมื่อเขาท� ำแผ่นยางธรรมชาติที่ผสมผงก� ำมะถัน หลุดมือตกลงบนฝาของเตาผิงในฤดูหนาว การค้นพบสารปฏิชีวนะเพนิซิลลิน เซอร์อะเล็กซานเดอร์ เฟลมิง (Sir Alexander Fleming, ๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๑-๑๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๕) เป็นนักชีววิทยาและเภสัชกรชาวสกอต ผู้ค้นพบเพนิซิลลินและได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา และแพทยศาสตร์ใน ค.ศ. ๑๙๔๕ (รูปที่ ๒) เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๘ เฟลมิงเดินทางกลับถึงห้องทดลอง ของเขาหลังจากใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัวในช่วงหยุดพักร้อนเดือนสิงหาคม ก่อนไปพักร้อนเขาได้เพาะเลี้ยง เชื้อจุลินทรีย์ Staphylococci บนจานเพาะเชื้อจ� ำนวนมากและวางจานเหล่านี้กองไว้บนโต๊ะยาวที่มุมห้องทดลอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=