สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 58 ค� ำน� ำ ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลัก ผู้นิพนธ์ใคร่ขอกล่าวถึงประเด็นหนึ่งที่ส� ำคัญยิ่งดังนี้ อะไรคือลักษณะที่ขาดไม่ได้ของนักวิทยาศาสตร์/นักนวัตกรรม/นักประดิษฐ์ยอดเยี่ยม ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงานนิทรรศการและการประชุมนานาชาติด้านนาโนเทคโนโลยี เรื่อง “ นาโนเทคโนโลยี 2003 + อนาคต ” ครั้งที่ ๑ ณ มากุฮาริ เมซเซะ (Makuhari Messe) ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงวันที่ ๒๖-๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้เขียนเป็นหนึ่งในวิทยากร ๓ คนของการสัมมนา เรื่อง “ สารสู่นักวิจัยรุ่นใหม่จากนักวิจัยชั้นน� ำ ” นอกจากผู้นิพนธ์คือ ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล (ประเทศไทย) รักษาการผู้อ� ำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยี แห่งชาติในขณะนั้น องค์ปาฐกที่โดดเด่นอีก ๒ คน คือ - ดร.ฮอรสต์ แอล. สตอร์เมอร์ (Dr. Horst L. Stormer จากสหรัฐอเมริกา แต่สัญชาติเยอรมัน) ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. ๑๙๙๘ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และบริษัท Lucent Technologies - ดร.ฌ็อง-มาร์ก กร็อกเน (Dr. Jean-Marc Grognet ประเทศฝรั่งเศส) Scientific Affairs Director, Technoligical Research Division, CEA Commissariat l’ nergie Atomique จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทั้ง ๓ คนมาจาก ๓ ทวีปและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนเทคโนโลยีที่แตก ต่างกัน ได้แก่ - วัสดุนาโน (nanomaterials) (ทวีปเอเชีย : ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล) - นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (nanoelectronics) (ทวีปอเมริกาเหนือ : ดร.ฮอรสต์ แอล. สตอร์เมอร์) - ชีววิทยานาโน (nanobiology) (ทวีปยุโรป : ดร.ฌ็อง-มาร์ก กร็อกเน) การบรรยายจัดขึ้นในหอประชุมใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมกว่า ๔๐๐ คน โดยมีนักวิจัยรุ่นใหม่ชาวญี่ปุ่น ๑๐ คนในวงการวิทยาศาสตร์และนาโนเทคโนโลยีซึ่งได้รับเชิญให้เข้าร่วมฟังและตั้งค� ำถามระหว่างนั่งบนเวที นักวิจัยเหล่านี้มาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต มหาวิทยาลัยโตเกียว สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว มหาวิทยาลัย โอซากา และสถาบันวิจัยระดับชาติ เช่น AIST, NIMS ในล� ำดับแรก ค� ำแนะน� ำของ ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ส� ำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่บนเวทีและผู้เข้าร่วม มีดังนี้ ลักษณะ ๔ ประการที่ขาดไม่ได้ของนักวิจัยที่ยอดเยี่ยมส� ำหรับงานวิจัยและพัฒนาที่ตนสนใจ คือ ๑. ความคลั่งไคล้ (passion) : แรงขับเคลื่อนหรือความตื่นเต้นทางอารมณ์ต่องานที่สนใจ ๒. ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) : ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่อยากเรียนรู้ ความไม่หยุดหย่อนในการเรียนรู้ การค้นพบโดยบังเอิญกับการค้นพบสิ่งส� ำคัญยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=