สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 53 รูปที่ ๙ การถ่ายโอนประจุที่เกิดขึ้นในฟลูอิไดซ์เบด สรุปผลการทดลอง เริ่มการทดลองโดยการป้อนอากาศที่ความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ เข้าไปในคอลัมน์เปล่า แล้ววัดปริมาณประจุซึ่งมีทั้งบวกและลบได้ประจุรวม ๑๐ -๑ นาโนแอมแปร์ จากนั้นบรรจุเม็ดพอลิโพรพิลีน ขนาด ๘๔๑ ไมโครเมตร ป้อนอากาศ ท� ำให้เม็ดของแข็งอยู่ในภาวะฟลูอิไดเซชัน วัดปริมาณประจุที่เกิดขึ้น ในเบดได้ปริมาณ ๑๐ -๑ ไมโครแอมแปร์ ซึ่งสูงกว่าที่วัดได้ในคอลัมน์เปล่าถึง ๑,๐๐๐ เท่า ผู้วิจัยได้พบว่าเกิดกระแสไฟฟ้าประจุบวกตรงโซนด้านล่างของเบด (ตั้งแต่แผ่นกระจายอากาศถึง แผ่นแถบทองแดงต� ำแหน่งที่ ๒) และพบกระแสไฟฟ้าประจุลบตรงบริเวณตั้งแต่แผ่นแถบทองแดงต� ำแหน่งที่ ๒ ไปจนถึงผิวหน้าของเบด ทั้งนี้ กระแสอากาศที่ออกจากแผ่นกระจายอากาศมีลักษณะเป็นเจ็ตพ่นออกมา ท� ำมุมกับแนวระนาบ ๔๕ องศา จึงเกิดกระแสหมุนวนแล้วไปกระทบกับการเคลื่อนที่ของเม็ดของแข็ง ที่เคลื่อนที่ลงมาจากด้านบนตรงบริเวณนี้พอดี เมื่อวัดปริมาณของประจุที่เกิดขึ้นตลอดทั้งเบดก็พบว่า ณ บริเวณนี้มีประจุเกิดขึ้นสูงสุด มีนักวิทยาศาสตร์เรียกโซนนี้ว่า โซนสแตกแนนต์ (stagnant zone) สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ, ดีมิตรี จีดาสเปอว, ปียะวรรณ ติยะไพบูนชัย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=