สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 51 แบบที่ ๒ ขณะที่เม็ดของแข็งภายในเบดเคลื่อนที่ไปมาเนื่องจากกระแสของอากาศที่ป้อนเข้ามาทาง ด้านล่างของเบด จะมีการเสียดสีกันระหว่างเม็ดของแข็งหรือมีโอกาสชนกันเองภายในเบด ( Gallo and Lama , 1976: IA-I2 , 7 ), ( Trigwell et al. , 2003: 39 , 79 ) เหตุการณ์นี้ท� ำให้ผิวของเม็ดของแข็ง เกิดประจุไฟฟ้าสถิตแบบสองขั้ว (bipolar) ( Ali et al. , 1998: 45 , 139 ), ( Bi , 2005: 3 , 395 ) ขึ้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ท� ำการทดลองในเบดที่มีขนาดเม็ดของแข็งต่าง ๆ กันและได้ให้ความเห็นว่า เม็ดของแข็งขนาดใหญ่จะถ่ายโอนอิเล็กตรอนไปยังเม็ดขนาดเล็กกว่า ดังนั้น เม็ดขนาดใหญ่จะแสดงประจุ บวกและเม็ดขนาดเล็กจะแสดงประจุลบ ( Zhao et al. , 2000 ), ( Zhao et al. , 2003: 39 , 612 ) แต่มี นักวิทยาศาสตร์บางคนได้พบว่า เม็ดขนาดเล็กเกิดประจุบวกที่ผิวส่วนเม็ดขนาดใหญ่เกิดประจุลบ ( Mehrani et al. , 2005: 63 , 165 ) แฟงและคณะ ( Fang et al. , 2008: 47 , 9517 ) ได้ใช้เม็ด พอลิเมอร์ชนิดที่มีความเป็นผลึกต�่ ำ ผิวขรุขระและสามารถดูดซับสารอื่นไว้ในตัวเอง มาท� ำเป็นเบดในคอลัมน์ ฟลูอิไดเซชัน เขาพบว่าเม็ดพอลิเมอร์ขนาดใหญ่เกิดประจุลบที่ผิวและเม็ดขนาดเล็กเกิดเป็นประจุบวกขึ้น ที่ผิว ส่วนเม็ดพอลิเมอร์ที่มีความเป็นผลึกสูง ผิวเรียบ ไม่ดูดซับสิ่งแปลกปลอมง่าย จะเกิดประจุบวกบนผิว เม็ดใหญ่และประจุลบบนผิวเม็ดเล็กกว่า สรุปเหตุการณ์แบบที่ ๑ หรือแบบที่ ๒ ได้ว่าจะเกิดไฟฟ้าสถิตประจุ บวกและประจุลบตลอดแนวความสูงของเบด ในฟลูอิไดซ์เบด ทางส่วนล่างของเบดเกิดประจุลบและ ส่วนบนของเบดเกิดประจุบวก เฮนดริกสัน ( Hendrickson , 2006: 61 , 1041 ) ได้รายงานผลการทดลอง ของเดย์ ( Day , 1997 ) ในฟลูอิไดซ์เบดนั้นว่าเกิดการถ่ายโอนประจุบวกจากเม็ดของแข็งไปยังผนังของคอลัมน์ ใกล้กับส่วนบนของเบด ในเวลาเดียวกันเกิดการถ่ายโอนประจุลบตรงบริเวณที่ใกล้กับแผ่นกระจายอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองนี้ จากการสังเกตในการทดลองพบว่า ที่ผิวหน้าของแผ่นแถบทองแดงทุกแผ่นที่ต่อกับพิโกแอมมิเตอร์ (ต่อกับสายดิน) ไม่มีเม็ดพอลิโพรพิลีนเกาะติดอยู่เลยเมื่อหยุดการป้อนอากาศ แต่มีเม็ดพอลิโพรพิลีน เกาะติดอยู่กับผนังคอลัมน์ช่วงระหว่างแผ่นแถบทองแดงและบริเวณเหนือแผ่นแถบที่ ๕ ดังแสดงในรูปที่ ๒(d) ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ต่อสายดินจากผนังด้านนอกของคอลัมน์ ซึ่งท� ำให้ประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเบด ไม่สามารถถ่ายโอนจากผนังด้านในไปยังผนังด้านนอกได้ จึงท� ำให้เม็ดพอลิโพรพิลีนเกาะติดผนังเป็นแผ่นแล้ว ก่อเป็นก้อนใหญ่ต่อมาจนผลสุดท้ายไปกีดขวางทางป้อนอากาศขาเข้า จ� ำเป็นต้องหยุดกระบวนการผลิตแล้ว แคะเอาก้อนเม็ดของแข็งออกจึงสามารถด� ำเนินการผลิตต่อไป ในการทดลองที่ใช้เบดเริ่มต้นสูง ๑๕ เซนติเมตร เมื่อเวลาผ่านไป ๓๐ นาที สังเกตได้ว่ามีเม็ด พอลิโพรพิลีนเกาะติดผนังคอลัมน์เหนือแผ่นแถบทองแดงต� ำแหน่งที่ ๕ มาก บริเวณนี้อยู่สูงกว่าผิวหน้าของ เบด ทั้งนี้เกิดขึ้นจากฟองอากาศเมื่อลอยมาถึงบริเวณผิวหน้าของเบดแล้วฟองก็ระเบิดออก ขณะเดียวกัน สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ, ดีมิตรี จีดาสเปอว, ปียะวรรณ ติยะไพบูนชัย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=