สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 50 ๑.๖๔ ตามล� ำดับ ส� ำหรับกระแสไฟฟ้าบวก การเพิ่มปริมาณกระแสเมื่อเพิ่มอุณหภูมิจาก ๓๒๘ เป็น ๓๔๘ เคลวิน มีค่าน้อยกว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิจาก ๓๐๘ เป็น ๓๒๘ เคลวิน แต่ก็สามารถสรุปได้ว่า เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ ของอากาศที่ป้อน เม็ดพอลิเมอร์สามารถสะสมประจุได้มากขึ้น แต่มูหราบิอาและคณะ ( Moughrabiah et al. , 2009: 48 , 320 ) ได้ผลการทดลองว่า การเกิดประจุไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น รูปที่ ๗ อิทธิพลของอุณหภูมิของอากาศที่ป้อนต่อปริมาณการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต (a) กระแสไฟฟ้าบวก (b) กระแสไฟฟ้าลบ ๖. กลไกการเกิดประจุและการกระจายของประจุ ขนาดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่แสดงในรูปที่ ๘ เป็นของกระแสไฟฟ้าบวกที่ต� ำแหน่ง ๑ และ ๒ ซึ่งเป็นต� ำแหน่งด้านล่างของเบด และเป็นของกระแสไฟฟ้าลบที่ต� ำแหน่ง ๓ และ ๔ ซึ่งเป็นต� ำแหน่งที่อยู่ ด้านบนของเบด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเบดนั้นสามารถอธิบายกลไกการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ เกิดการเสียดสีระหว่างอากาศที่ป้อนเข้ามาทางด้านล่างของแผ่นกระจายอากาศขึ้นมา มีลักษณะเป็นเจ็ตแล้วสัมผัสและเสียดสีกับเม็ดพอลิโพรพิลีนที่ก� ำลังเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง มีพลังงานจลน์ ที่ท� ำให้อิเล็กตรอนบนผิวของเม็ดเกิดการเรียงตัว เมื่อเม็ดนี้ไปสัมผัสกับแผ่นแถบทองแดงอิเล็กตรอนเหล่านี้ จะถ่ายโอนต่อไปยังเครื่องพิโกแอมมิเตอร์ (รูปที่ ๙) ดังนั้น ค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้ในบริเวณนี้จึงแสดงเป็น กระแสไฟฟ้าบวก (รูปที่ ๘) จากนั้นอิเล็กตรอนจากเครื่องพิโกแอมมิเตอร์จะถ่ายโอนไปยังเม็ดพอลิโพรพิลีน ทางด้านบนของเบดผ่านทางแผ่นแถบทองแดงต� ำแหน่งที่ ๓, ๔ และ ๕ (รูปที่ ๘) การเกิดประจุไฟฟ้าสถิตบนเม็ดพอลิโพรพิลีนในฟลูอิไดซ์เบด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=