สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 49 เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น แต่ที่ด้านบนของเบดประจุเกิดมากขึ้นตามความเร็วของอากาศ เมื่อให้เบดมีความสูง เริ่มต้นเป็น ๑๕ เซนติเมตร ที่ทุกค่าความสูงประจุเกิดขึ้นมากตามความเร็วของอากาศที่เพิ่มขึ้นดังผลการ ทดลองในรูปที่ ๖ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดความปั่นป่วนของเบดมากขึ้น เนื่องจากมีฟองอากาศใหญ่ขึ้นตาม ความสูงของเบด รูปที่ ๖ การเกิดประจุไฟฟ้าเมื่อเพิ่มความเร็วของอากาศที่ป้อนเข้าเบด (a) ที่ความสูงของเบดเริ่มต้น ๑๐ เซนติเมตร (b) ที่ความสูงของเบดเริ่มต้น ๑๕ เซนติเมตร ๕. อิทธิพลของอุณหภูมิของอากาศต่อการเกิดประจุในเบด โดยทั่วไปพลังงานจลน์ของอากาศจะมากขึ้นตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น ในการทดลองนี้ผู้วิจัย จึงได้ป้อนอากาศเข้าเบดด้วยอัตราคงตัวที่ ๑๗๐ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงและความดันเหนือชั้นเบด ๑ บรรยากาศ จากนั้นได้ปรับอุณหภูมิของอากาศเพิ่มจาก ๓๐๘ เคลวิน เป็น ๓๒๘ เคลวิน เมื่อวัดปริมาณ ของประจุที่เกิดขึ้นพบว่า ที่ต� ำแหน่ง ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ มีประจุเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๒๒, ๑๐.๑๗, ๓๐.๘๔, ๑๔.๔๘ และ -๑.๖๔ ตามล� ำดับ ดังนั้น จึงได้เพิ่มอุณหภูมิเป็น ๓๔๘ เคลวิน ปริมาณของประจุก็มากกว่าที่ อุณหภูมิ ๓๒๘ เคลวิน คือ ที่ต� ำแหน่ง ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๑๑, ๗.๔๔, ๘.๗๒, -๑.๑๔ และ ๙.๖๔ ตามล� ำดับ ที่เป็นดังนี้เพราะว่าเราไปเพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่อิเล็กตรอนบนเม็ดของแข็ง ผลการทดลอง ในรูปที่ ๗ (b) แสดงปริมาณของกระแสไฟฟ้าลบเกิดขึ้นเหนือโซนสแตกแนนต์ เนื่องจากมีอิเล็กตรอน ถ่ายโอนจากพิโกแอมมิเตอร์ให้กับเม็ดพอลิโพรพิลีน ที่บริเวณต� ำแหน่งแผ่นแถบทองแดงที่ ๓ กระแสไฟฟ้า ลบเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิดังนี้ อุณหภูมิ ๓๐๘, ๓๒๘ และ ๓๔๘ เคลวิน มีกระแสเพิ่มจาก ๑.๐, ๑.๓๐ และ สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ, ดีมิตรี จีดาสเปอว, ปียะวรรณ ติยะไพบูนชัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=