สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 48 ๓. อิทธิพลของความสูงของเบดต่อการเกิดประจุไฟฟ้า ปริมาณของเม็ดพอลิโพรพิลีนจ� ำนวน ๔๐๐, ๘๐๐ และ ๑,๒๐๐ กรัมได้ถูกเติมลงในคอลัมน์ ท� ำให้ได้เบดสูง ๕, ๑๐ และ ๑๕ เซนติเมตรตามล� ำดับ จากนั้นป้อนอากาศที่ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์น้อย กว่าร้อยละ ๔๐ และคงค่าอุณหภูมิไว้ที่ ๓๔๘ เคลวิน ที่เบดเริ่มต้นสูง ๑๕ เซนติเมตร มีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น มากที่สุดตรงบริเวณแผ่นแถบทองแดงต� ำแหน่ง ๒ ทั้งนี้ สังเกตได้ว่ามีกระแสของอากาศบริเวณนี้หมุนวน อย่างรุนแรง ดังนั้น เม็ดของแข็งจึงมีโอกาสสัมผัสและกระทบกันเป็นจ� ำนวนมากก่อนเคลื่อนไปยังส่วนบน ของเบด มีนักวิทยาศาสตร์เรียกโซนนี้ว่า โซนสแตกแนนต์ (stagnant zone) ( Bi, 2005: 3, 395 ) และ พบว่าที่ความสูงเริ่มต้นของเบดยิ่งมาก การเกิดประจุไฟฟ้าจะยิ่งมากตามไปด้วย ดังแสดงผลการทดลอง ในรูปที่ ๕ ที่ความสูงของเบดเริ่มต้น ๑๐ เซนติเมตรมีค่ากระไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ยมากว่าความสูงของเบดเริ่มต้น ๕ เซนติเมตร ๒.๔๔ เท่า และที่ความสูงเบดเริ่มต้น ๑๕ เซนติเมตร มีค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ยมากกว่า ความสูงของเบดเริ่มต้น ๕ เซนติเมตร ๓.๙๔ เท่า รูปที่ ๕ อิทธิพลของความสูงเบดเริ่มต้นต่อการเกิดประจุไฟฟ้าในเบด ๔. อิทธิพลของความเร็วของอากาศที่ป้อนเข้าเบดต่อการเกิดประจุไฟฟ้า การเพิ่มความเร็วของอากาศที่ป้อนเข้าไปในเบดจะท� ำให้การเคลื่อนที่ของเม็ดพอลิโพรพิลีน รุนแรงมากขึ้น ประจุที่เกิดขึ้นในเบดควรเพิ่มตามไปด้วย ผู้วิจัยได้ป้อนอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ ๓๒๘ เคลวินเข้าไปในเบดที่ความสูงของเบดเริ่มต้น ๑๐ เซนติเมตร ประจุทางด้านล่างของเบดเกิดขึ้นน้อย การเกิดประจุไฟฟ้าสถิตบนเม็ดพอลิโพรพิลีนในฟลูอิไดซ์เบด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=