สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 47 ผู้วิจัยได้บรรจุเม็ดพอลิโพรพิลีนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย ๘๔๑ ไมโครเมตร ลงในคอลัมน์ ป้อนอากาศที่มีอุณหภูมิ ๓๔๘ เคลวิน ด้วยอัตราป้อน ๑๗๐ ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง กระแสที่วัดได้จาก พิโกแอมมิเตอร์วัดได้ทั้งกระแสบวกและกระแสลบ มีขนาดระดับ ๑๐-๑ ไมโครแอมแปร์ ซึ่งมากกว่ากระแส ที่วัดได้ในคอลัมน์เปล่าประมาณ ๑,๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ เท่า กระแสไฟฟ้าที่วัดได้มีทั้งกระแสบวกและกระแส ลบดังรูปที่ ๔ สังเกตได้จากกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเป็นจ� ำนวนมากที่ด้านล่างของเบดแล้วจะค่อย ๆ น้อยลง ตามความสูงของเบด ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า กระแสอากาศที่ไหลผ่านแผ่นกระจายอากาศเข้ามาในเบด มีลักษณะเป็นกระแสแบบเจ็ต จึงท� ำให้เม็ดของพอลิโพรพิลีนเคลื่อนที่อย่างรุนแรง มีโอกาสที่จะสัมผัส หรือการชนกันระหว่างเม็ดมีมาก จากนั้นกระแสของอากาศมีความปั่นป่วนน้อยลงตามความสูงของเบด ค่ากระแสบวกเฉลี่ยวัดที่แผ่นแถบทองแดงต� ำแหน่งที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ มีค่า ๐.๓๗๖, ๐.๓๗๙, ๐.๒๘๙, ๐.๑๒๙ และ ๐.๐๗๗ ไมโครแอมแปร์ ส่วนกระแสลบต� ำแหน่งที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และ ๕ มีค่า -๐.๓๖๙, -๐.๓๘๖, -๐.๓๔๐, -๐.๑๑๖ และ -๐.๐๘๗ ไมโครแอมแปร์ ตามล� ำดับ ประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นและสะสมบนผิวของเม็ด พอลิโพรพิลีนนั้นเกิดในกระบวนการไทรโบอิเล็กทริก ตามกฎของการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า ผลรวมของประจุ บวกและลบจะต้องมีค่าใกล้ศูนย์ดังแสดงให้เห็นในรูปที่ ๔ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าอิเล็กตรอนหลุดจากเม็ดของแข็ง เม็ดหนึ่งจะต้องไปอยู่กับเม็ดของแข็งอีกเม็ดหนึ่งในเบดนั้น รูปที่ ๔ ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเบดของเม็ดพอลิโพรพิลีน สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ, ดีมิตรี จีดาสเปอว, ปียะวรรณ ติยะไพบูนชัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=