สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 46 ไฟฟ้ามีขนาดมากกว่าแรงโน้มถ่วงและแรงฉุดจากกระแสการไหล เม็ดของแข็งที่ยึดติดที่ผนังเนื่องจากมีเม็ด ของแข็งเป็นจ� ำนวนมากจึงมีโอกาสเกิดแรงยึดระหว่างผนังกับเม็ดของแข็งที่มีประจุอยู่บนผิวหน้า กระบวนการผลิตพอลิโพรพิลีนเป็นปฏิกิริยาแบบเกิดความร้อน ดังนั้น เม็ดพอลิโพรพิลีน ที่เกิดขึ้นในกระบวนการและเกาะติดที่ผนังคอลัมน์นาน ๆ จะหลอมและยึดเกาะติดเป็นแผ่นหนาขึ้น ตามเวลาที่ผลิต ๒. การวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในเบด เริ่มต้นการทดลองด้วยการป้อนอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ผ่าน เข้าในคอลัมน์ จะสังเกตเห็นว่ามีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นในระบบ เห็นค่ากระแสไฟฟ้าปรากฏที่พิโกแอมมิเตอร์ กระแสนี้เกิดจากประจุที่ถ่ายโอนจากแผ่นแถบทองแดงมายังเครื่องพิโกแอมมิเตอร์ ผู้วิจัยวัดกระแสไฟฟ้าสถิต ไว้จ� ำนวน ๕๐๐ ครั้ง พบว่า ค่าของกระแสมีขนาดเป็น นาโนแอมแปร์ จากนั้นค� ำนวณกลับเป็นปริมาณของ ประจุไฟฟ้าสถิตได้ค่าดังแสดงไว้ในรูปที่ ๓ ปรากฏว่าวัดได้ทั้งกระแสบวกและกระแสลบ รูปที่ ๓ ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากแผ่นแถบทองแดงที่ติดไว้ที่ผนังคอลัมน์ กระแสบวกเกิดจากอิเล็กตรอนถ่ายโอนจากระบบให้แก่พิโกแอมมิเตอร์ มีขนาดตั้งแต่ ๖๖ ถึง ๖๖๐ พิโกแอมแปร์ ส่วนกระแสลบเกิดจากอิเล็กตรอนถ่ายจากพิโกแอมมิเตอร์ให้แก่ระบบ มีขนาดตั้งแต่ ๖๓ ถึง ๖๒๐ พิโกแอมแปร์ แสดงว่าอากาศที่ไหลผ่านเข้าไปในคอลัมน์ท� ำให้เกิดประจุขึ้นที่ผิวของแผ่น แถบทองแดง การเกิดประจุไฟฟ้าสถิตบนเม็ดพอลิโพรพิลีนในฟลูอิไดซ์เบด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=