สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 44 ในคอลัมน์ที่มีแท่งท� ำความร้อนด้วยไฟฟ้าบรรจุอยู่ อากาศร้อนถูกป้อนเข้าทางด้านล่างของคอลัมน์ ฟลูอิไดเซชันผ่านแผ่นกระจายอากาศ ไหลผ่านไปยังเบดของเม็ดพอลิโพรพิลีน เพื่อท� ำให้เม็ดพอลิโพรพิลีน เคลื่อนตัวและอยู่ในภาวะฟลูอิไดเซชัน อากาศผ่านเบดแล้วไหลออกทางด้านบนของคอลัมน์ เม็ดของแข็ง เคลื่อนตัวตามความเร็วของอากาศ เกิดการเสียดสีกับผนังคอลัมน์และชนกันเอง พบว่ามีประจุไฟฟ้าสถิต เกิดขึ้นได้จากสัญญาณที่เครื่องพิโกแอมมิเตอร์และหาปริมาณได้ด้วยการค� ำนวณด้วยโปรแกรม Excel LINK ที่บรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ การวัดและวิเคราะห์ประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าที่เกิดในฟลูอิไดซ์เบดเป็นประจุไฟฟ้าสถิต ประจุนี้จะเคลื่อนที่จากผิวเม็ดของแข็งไป ยังแผ่นแถบทองแดงทั้ง ๕ แถบ แล้วประจุก็เคลื่อนไปยังพิโกแอมมิเตอร์ ซึ่งจะวัดค่าออกมาเป็นกระแสไฟฟ้า ที่สามารถค� ำนวณด้วยโปรแกรม Excel LINK ทุก ๆ ๑๐ นาที เครื่องพิโกแอมมิเตอร์จะประเมินผลของกระแสที่วัดได้และส่งสัญญานไปค� ำนวณ หาปริมาณด้วยคอมพิวเตอร์ ผลการวัดพบว่า กระแสที่เกิดขึ้นแสดงถึงทั้งค่าประจุบวกและค่าประจุลบ ค่ากระแสประจุบวกเราเรียกว่า “กระแสบวก” และค่ากระแสประจุลบเราเรียกว่า “กระแสลบ” ค่าเฉลี่ย ที่วัดได้ภายในเวลา ๑๐ นาที เรียกว่า “ค่าเฉลี่ยกระแสบวก” ( I avg.pos ) และ “ค่าเฉลี่ยกระแสลบ” ( I avg.neg ) ในเบดที่ศึกษาทั้งหมดได้แบ่งออกเป็น ๕ โซน ค่ากระแสแต่ละโซนวัดได้จากแผ่นแถบทองแดง และขนาดของกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยสูงสุดสัมบูรณ์ในช่วง ๑๐ นาทีแต่ละช่วง แสดงไว้ในสมการต่อไป นี้ คือ I amp = I max.pos หรือ I max.neg ผลการทดลองและการวิจารณ์ การทดลองได้กระท� ำในเบดที่อยู่ในภาวะเบดที่มีฟอง ภายใต้ความดัน ๑ บรรยากาศและ ความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ Guardiola และผู้ร่วมงานได้พบว่า ความชื้นในอากาศมีผลกระทบ ต่อการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตโดยที่เขาได้ทดลองใช้เม็ดแก้วขนาด ๒๕๐ ถึง ๓๕๐ ไมโครเมตรท� ำเป็นเบดแล้ว พบว่า ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมากกว่าร้อยละ ๔๐ และเม็ดแก้วมีขนาด ๓๕๐ ถึง ๔๒๐ ไมโครเมตร เมื่ออากาศมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่าร้อยละ ๗๕ ๑. แนวทางการเกิดประจุไฟฟ้า การทดลองได้ใช้เม็ดพอลิโพรพิลีนท� ำเป็นเบดแล้วท� ำให้อยู่ในภาวะฟลูอิไดเซชันด้วย อากาศที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ที่ถูกป้อนเข้ามาทางด้านล่างของคอลัมน์ การเกิดประจุไฟฟ้าสถิตบนเม็ดพอลิโพรพิลีนในฟลูอิไดซ์เบด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=