สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 43 สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ, ดีมิตรี จีดาสเปอว, ปียะวรรณ ติยะไพบูนชัย สามารถท� ำความเข้าใจกลไกและแนวทางการเกิดประจุได้ดีขึ้น อุปกรณ์การทดลอง รูปที่ ๑ แสดงอุปกรณ์การทดลองซึ่งประกอบด้วยคอลัมน์ฟลูอิไดเซชันสร้างด้วยพลาสติกใส อะคริลิก ๒ ชั้น ชั้นในมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ เซนติเมตร ชั้นนอก ๒๐ เซนติเมตร สูง ๑๐๐ เซนติเมตร ส่วนบนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓๒ เซนติเมตร เพื่อลดความเร็วของอากาศ เมื่อการทดลองเสร็จเรียบร้อย ผู้วิจัยได้เป่าอากาศด้วยความเร็วสูงเข้าไปทางด้านล่างของคอลัมน์เพื่อท� ำให้เม็ดพอลิโพรพิลีนหลุดออกจาก คอลัมน์และถูกดักไว้ด้วยไซโคลน รูปที่ ๑ อุปกรณ์การทดลอง แผ่นแถบทองแดงมีขนาดกว้าง ๓.๘๑ เซนติเมตร จ� ำนวน ๕ แผ่น ถูกจัดวางไว้ด้านในของคอลัมน์ ชั้นใน มีระยะห่างจากแผ่นกระจายอากาศ ๕.๗๒, ๑๓.๓๔, ๒๐.๙๖, ๒๘.๕๓ และ ๓๖.๒๐ เซนติเมตร ตามล� ำดับ รูปที่ ๑ แสดงการติดตั้งอุปกรณ์การทดลองซึ่งประกอบด้วย เครื่องเป่าอากาศ คอลัมน์ดูดความชื้น ที่บรรจุเม็ดซีโอไลต์ไว้ ๕ ชั้น คอลัมน์ท� ำอากาศร้อน คอลัมน์ฟลูอิไดเซชัน ไซโคลน พิโกแอมมิเตอร์ คอมพิวเตอร์ การทดลองด� ำเนินงานโดยป้อนอากาศจากเครื่องเป่าผ่านไปยังคอลัมน์ดูดความชื้นเพื่อลดปริมาณ ความชื้นในอากาศให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ ๔๐ อากาศที่ลดความชื้นแล้วได้ถูกท� ำให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=