สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การเกิดประจุไฟฟ้าสถิตบนเม็ดพอลิโพรพิลีนในฟลูอิไดซ์เบด* สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีมิตรี จีดาสเปอว ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและชีวภาพ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอิลลินอยส์ ชิคาโก สหรัฐอเมริกา ปียะวรรณ ติยะไพบูนชัย ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทคัดย่อ การศึกษาปริมาณการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตได้กระท� ำในคอลัมน์พลาสติกใส ๒ ชั้นเพื่อป้องกัน การรบกวนจากภาวะภายนอก ภายในคอลัมน์ผู้วิจัยได้ติดแถบทองแดงไว้ที่ผนังจ� ำนวน ๕ แถบที่ความสูง ๕.๗๒, ๑๓.๓๔, ๒๐.๙๖, ๒๘.๕๓ และ ๓๖.๒๐ เซนติเมตร ผู้วิจัยได้ต่อสายไฟฟ้าจากแถบทองแดงไปยัง เครื่องวัดปริมาณประจุ (picoammeter) จากการทดลองพบว่า เกิดทั้งประจุลบและประจุบวกตลอด ความสูงของเบด ประจุบวกส่วนใหญ่ปรากฏขึ้นที่ด้านล่างของเบด แต่ประจุลบจะเกิดส่วนใหญ่ทางด้านบน ปัจจัยส� ำคัญของการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตบนผิวของเม็ดพอลิเมอร์ ได้แก่ ความเร็วของอากาศ อุณหภูมิของ อากาศ และยังพบอีกว่า ปริมาณของประจุเกิดเพิ่มขึ้นตามปริมาณของเม็ดพอลิเมอร์ที่ใช้เริ่มต้นและปริมาณ ของอากาศที่ป้อนเข้าในเบด ค� ำส� ำคัญ : ไทรโบอิเล็กทริก, ปริมาณประจุไฟฟ้าสถิต, พอลิโพรพิลีน, ฟลูอิไดซ์เบด ค� ำน� ำ ใน ค.ศ. ๑๙๖๘ บริษัทยูเนี่ยนคาร์ไบด์ ได้สร้างเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดขั้นอุตสาหกรรม เครื่องแรกส� ำหรับผลิตพอลิโพรพิลีนแบบระบบแก๊ส เพื่อใช้ผลิตพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง และได้ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ * บรรยายในการประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=