สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 34 จากข้อมูลนี้ จึงเป็นที่ชัดเจนว่า สุนทรภู่ “ นี้กล่าวแกล้งแต่งเล่นเพราะเป็นม่าย ” ในโอกาส การเสียชีวิตของนางนิ่ม ซึ่งสุนทรภู่ก็ต้องการบันทึกไว้ พร้อมกับปั้นเรื่อง “ เที่ยวเล่น ” ใน “ ทุ่งหลวง ” “ หาวัดฉวัดเฉวียน ” ไว้ใน “ นิราศวัดเจ้าฟ้า ” จาก “ ลายแทง ” ชิ้นนี้ วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ จึงเป็นวัด ที่สุนทรภู่ “ แกล้งแต่งเล่น ” จากวัดร้างที่ชื่อมเหยงคณ์ ให้เป็นเค้าของวัดที่โปรดให้สร้างขึ้นโดยพระเจ้า ตะเภาทอง ขณะ “ ประพาสทุ่ง ” ซึ่งไม่สามารถสืบได้ว่ามีอยู่จริง หรือเป็นเรื่องที่ “ เรื้อร้าง ” สุนทรภู่จึงยัง แต่งเป็นนัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวให้มีพายุพัดจนต� ำราลายแทงหรือแผนที่หายไป และตั้งแต่แรก เมื่อได้พิจารณาดีแล้ว การเดินทางไปสถานที่ดังกล่าว ในต� ำนานพระเจ้าตะเภาทองก็คือการเดินทางไปรู้จัก วัดมเหยงคณ์ที่เป็นวัดมีประวัติส� ำคัญมาก จากเรื่องพระเจ้าตะเภาทองนี้ หรือเค้าต� ำรายาอายุวัฒนะจากพม่าก่อนที่จะเป็นงานเขียนของ หลวงอนุสารสุนทร คงจะเป็นต้นเรื่อง หรือลายแทง “ เป็นต� ำรามาแต่เหนือท่านเชื่อถือ ” (จาก “ นิราศวัด เจ้าฟ้า ”) ให้สุนทรภู่หาเรื่องแต่งเป็นการเดินทางไปวัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ในจินตนาการดังกล่าว เป็นนิราศตามรอยพระเจ้าตะเภาทอง และพาดพิงถึงเจ้าฟ้ากุลฑลทิพยวดี กับเจ้าฟ้ามหาศักดิพลเสพ จนมาเป็นชื่อนิราศก็เป็นได้ การแต่งนิราศเรื่องนี้ จึงแสดงถึงวิสัยของการเอาหลายเรื่อง หลายประเด็น มาประกอบกัน ลงท้ายคล้ายจะหาเรื่องพิสูจน์ลายแทง แล้วแสดงออกมาด้วยความสามารถแต่งเป็นค� ำกลอน สนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยพระราชทานพระธ� ำมรงค์แก่ สุนทรภู่ ส� ำหรับเป็นเครื่องเตือนใจ และรางวัลล่วงหน้าให้สร้างผลงานเป็นเกียรติประวัติของความสามารถ ตลอดไปอย่าได้หยุด สุนทรภู่จึงมีผลงานค� ำกลอนไว้มากมาย และระลึกถึงเหตุผลไว้เสมอ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในที่นี้ผู้เขียนจะได้ลงความเห็นว่า “ ดินถนัน ” หรือ “ ถันสุธา ” หรือ “ นมพระธรณี ” ที่สุนทรภู่กล่าวไว้ในนิทานพระอภัยมณี น่าจะหมายถึงหรือหมายรวมได้ถึง “ กวาวเครือ ” ซึ่งทั้งหมดมีคุณสมบัติเป็นยาอายุวัฒนะ แต่ก็เคยมีผู้กล่าวว่าน่าจะเป็นจากเค้าของ “ ผลภูสิทธิ์ ” ซึ่งเป็น ผลไม้วิเศษในเรื่อง “ เลียดก๊ก ” หรือเป็นวิตามินต่าง ๆ ไม่ก็ดินโป่ง ซึ่งมีแร่ธาตุต่าง ๆ (ประจิม กมลศิลป์ ใน ประจักษ์ ประภาพิทยากร พ.ศ. ๒๕๒๙) เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ไม่อยากลืมประวัติที่มีอยู่ว่า “ ถึงรัชกาล ที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯ ให้แปลเรื่องเลียดก๊กอีกเรื่อง ๑ แลปรากฏนามผู้รับสั่งให้เป็นพนักงานแปล ล้วนผู้มีศักดิ์สูง แลทรงความสามารถถึง ๑๒ คน ... ” โดยรวมทั้ง กรมหมื่นนเรศร์โยธี ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษเทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ ซึ่งเคยเป็นข้าในวังนี้ และมีราชการขณะนั้นอยู่ในกรมพระอาลักษณ์ อีกทั้งเป็นกวีที่ทรงปรึกษาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่มีราชทัณฑ์ติดคุก ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๒-๒๓๖๓ เรื่อง “ ผลภูสิทธิ์ ” จะเกี่ยวข้องกับ “ ดินถนัน ” ของสุนทรภู่ที่คงจะแปลงมาจาก “ ดินถน� ำ ” ที่จะกล่าวต่อไป เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าศึกษา เช่นเดียวกับเรื่องของ “ ปี่เตียวเหลียง ” กวาวเครือ และดินโป่งเป็น ดินถนัน ถันสุธา นมพระธรณี ในนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=