สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 33 หมดที่มั่น จึงแนะให้เขมรต่อเขมรท� ำกันเอง ญวนจะท� ำเป็นไม่รู้ไม่เห็น โดย “ ให้สมเด็จพระอุไทยราชา ยกเหตุแต่งคนไปขอเก็บน�้ ำนมศิลา แลมูลค้างคาว ในแขวงเมืองพัตบอง ตามประเพณี ซึ่งเคยท� ำมาแต่ก่อน แต่ให้แต่งเป็นกองทัพเข้าไป... ถ้าเห็นว่า ที่เมืองพัตบองจะต่อสู้มั่นคงอยู่ จะตีเอามิได้ ก็อย่ารบพุ่ง ให้เป็นแต่ไปเก็บน�้ ำนมศิลาแลมูลค้างคาว... ในเวลานั้น พระยารามก� ำแหง เป็นข้าหลวงอยู่ที่เมืองพัตบอง กับพระยาอภัยภูเบศร์ ผู้ว่าราชการเมือง... จึงแต่งคนให้ไปห้ามกองทัพเขมร กองทัพเขมรก็ไม่ฟัง ว่าจะเข้าไป เก็บน�้ ำนมศิลา แลมูลค้างคาวตามเคย... เรื่องเขมรยกกองทัพล่วงแดนเมืองพัตบองเข้ามา มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๖ ปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ ได้ทรงทราบความแคลงพระทัยอยู่ เหตุด้วยกรุงกัมพูชาเคยแต่งคนเข้ามา เก็บน�้ ำนมศิลา กับมูลค้างคาว เป็นประเพณีมาแต่ก่อน... จึงโปรดให้เกณฑ์กองทัพกรุงเทพฯ สมทบกับ กองทัพเมืองนครราชสีมา ให้เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เป็นแม่ทัพยกลงไปตั้งรักษาเมืองพัตบองไว้... ” เมื่อฝ่ายไทยทักท้วงไปยังญวน ครั้นปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ฝ่ายญวนได้ตอบมาว่า ได้ไต่สวนไปที่ กรุงกัมพูชา ได้ความว่า ฝ่ายกรุงกัมพูชา... “ ได้ยกเข้าไปในดินแดนเมืองพัตบองจริง แต่ไปเพื่อเก็บน�้ ำนมศิลา แลมูลค้างคาว ตามประเพณีที่เคยท� ำมาแต่ก่อน ก� ำลังแลไพร่พลมีไปก็แต่พอสมควร ทั้งได้บอกความแก่ นายด่านให้แจ้งความไปให้ผู้ว่าราชการเมืองพัตบองทราบด้วยแล้ว ครั้นพวกกัมพูชายกเข้าไปถึงด่าน พวกนายด่านเมืองพัตบองหน่วงเหนี่ยวไว้ ไม่ยอมให้พวกกรุงกัมพูชาเข้าไปเก็บน�้ ำนมศิลา แลมูลค้างคาว ดังแต่ก่อน ท� ำให้พวกกรุงกัมพูชาเกิดความสงสัย... ” จากหลักฐานเป็นค� ำว่า “ น�้ ำนมศิลา ” ดังกล่าว เป็นไปได้ว่า ค� ำนี้เป็นที่มาของ “ ถันสุธา ” และ “ นมพระธรณี ” โดยสุนทรภู่ ส� ำหรับสถานที่พบ “ น�้ ำนมศิลา ” ก็พอจะตรงกับ “ ดินถน� ำ ” โดย “ ถน� ำ ” เป็นส� ำเนียงภาษาเขมร หมายถึง ยา หรือ “ ดินถนัน ” ของสุนทรภู่ที่จะกล่าวต่อไปอีก แต่ถ้าจะกล่าวถึงต� ำนานต� ำรายาอายุวัฒนะของไทย ในความหมายของสุนทรภู่ ที่ต้องการ ตามหา ดังมีกล่าวอยู่ใน “ นิราศวัดเจ้าฟ้า ” ผู้เขียนได้พบ แม้จะเป็นข้อความสั้น แต่ก็ตรงกันหลายประเด็น เกี่ยวกับพระเจ้าตะเภาทอง นิทานยุคทวาราวดี ของบ้านอู่ตะเภา ต� ำบลม่วงหวาน อ� ำเภอหนองแซง จังหวัด สระบุรี ที่มีอยู่ว่า “ พระเจ้าตะเภาทองเสด็จประพาสทุ่ง พบที่แห่งหนึ่งเป็นที่สบพระทัย จึงโปรดให้สร้างวัดขึ้น ขณะนั้นเองมีฤๅษีสี่องค์มาเฝ้า และถวายยาอายุวัฒนะเพื่อให้พระชนม์ยาวนาน มีพระสิริโฉมงดงาม แต่พระเจ้าตะเภาทองทรงเบื่อหน่ายพระชีวิตเสียแล้ว จึงไม่ยอมเสวยยาอายุวัฒนะของฤๅษี แต่ให้เก็บใส่ ตุ่มทองไว้ และฝังไว้ภายใต้องค์พระประธาน และลงลายพระหัตถ์ก� ำกับไว้ รับสั่งว่า ใครพบเห็นก็เอาไปกินได้ ” (ประยูร พิศนาคะ และ เกรียงศักดิ์ พิศนาคะ พ.ศ. ๒๕๑๒ หน้า ๑๗๘) ทศพร วงศ์รัตน์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=