สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 27 แต่งค� ำกลอนเกี่ยวกับฟักแฟงในไร่ของชาวบ้าน ที่โดยสถานที่ในใจคงจะมีส่วนคิดพาดพิงให้สอดคล้องกับที่ เคยได้เริ่มกล่าวมาก่อนไว้ในนิทาน “ พระอภัยมณีค� ำกลอน ” ตั้งแต่ตอนที่ ๓๑ หน้า ๕๔๒ ครั้งเดินทางไป เพชรบุรี ในเดือนมกราคม ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๗๔ และเหมือนยังจะเป็นนัยย้อนนึกไปถึงครั้งแต่ง “ สวัสดิรักษา ค� ำกลอน ” เมื่อ ๑๐ ปีก่อนที่ได้เริ่มรู้จัก “ ดินถน� ำ ” แล้วได้แต่งเป็น “ ดินถนัน ” หรือ “ ถันสุธา ” หรือ “ นมพระธรณี ” ตามนิทานเข้าใจได้ว่า ในความหมายนอกจาก “ ดินถนัน ” หรือ “ เกลือโป่ง ” ก็ยังรวมถึง กวาวเครือ ที่มีรูปร่างและขนาด “ น�้ ำเต้าทอง ” ในครั้งนั้น แต่ในครั้งนี้น่าจะสวมไว้เป็นนัยกับ “ ฟักทอง ” ที่ คนเพชรบุรีกลับเรียก “ น�้ ำเต้า ” ซึ่งส� ำหรับสุนทรภู่ เมื่อรู้ว่า “ ผลภูสิทธิ์ ” ก็ยังเทียบได้เป็นแตงโม ขณะนั้น จึงคงจะนึกถึง “ ดินถนัน ” “ ถันสุธา ” “ นมพระธรณี ” แต่กลอนคงจะไม่พาไป จึงแต่งได้ในเค้าชื่อของ ชาวเพชรบุรี ไว้ว่า “ เป็นถิ่นฐานบ้านนาป่าร� ำไร เขาท� ำไร่ถั่วผักปลูกฟักแฟง แต่ฟักทองร้องเรียกว่าน�้ ำเต้า ฟักเขียวเล่าเรียกว่าขี้พร้าแถลง ” ยังเป็นที่น่าสังเกตอีกว่า นอกจากตัวละครที่มีอายุในจินตนาการเป็นร้อยเป็นพันปีแล้ว เพียงหลัง จากที่สุนทรภู่ได้เริ่มกล่าวเป็นครั้งแรกถึงสรรพคุณของ “ ดินถนัน ” หรือ “ ถันสุธา ” หรือ “ นมพระธรณี ” ในลักษณะของยาอายุวัฒนะอย่างละเอียดไว้ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๗๔ ดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่ครั้งนั้น สุนทรภู่ ที่อายุเข้าสู่วัยกลางคน คือ ๔๕ ปี ก็คงจะได้สนใจ เรื่อง “ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ” มากขึ้น จากพื้นฐาน ความต้องการมีอายุยืนของตัวเอง ดังที่เคยกล่าวไว้ก่อน เช่น ตั้งแต่ใน “ นิราศพระบาท ” (พ.ศ. ๒๓๕๐) “ สวัสดิรักษาค� ำกลอน ” (พ.ศ. ๒๓๖๔) “ นิราศภูเขาทอง ” (พ.ศ. ๒๓๗๓) ตามล� ำดับว่า “ อย่ารู้มีโรคาสารพางค์ ทั้งรูปร่างขอให้ราวกับองค์อินทร์ หนึ่งบิดรมารดาคณาญาติ ให้ผุดผาดผาสุกเป็นนิจสิน ” “ อนึ่งนั้นวันก� ำเนิดเกิดสวัสดิ์ อย่าฆ่าสัตว์เสียสง่าทั้งราศี อายุน้อยถอยเลื่อนทั้งเดือนปี แล้วมักมีทุกข์โศกโรคโรคา ” “ อายุยืนหมื่นเท่าเสาศิลา อยู่คู่ฟ้าดินได้ดังใจปอง ” “ ทั้งทุกข์โศกโรคภัยอย่าใกล้กลาย แสนสบายบริบูรณ์ประยูรวงศ์ ” ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ หรืออีก ๒ ปีถัดมา พระสุนทรภู่ซึ่งยังค� ำนึงเป็นปรกติอยู่กับเรื่องไตรลักษณ์ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่เมื่อเคยได้เค้าลายแทงพระเจ้า ตะเภาทองเป็นยาอายุวัฒนะจากเมืองเหนือ (กวาวเครือ เริ่มด้วยประวัติจากพม่าเข้ามาทางเชียงใหม่ ซึ่งจะ ได้กล่าวถึงต่อไป) ก็ได้หาเรื่องที่จะใช้ข้อมูลความรู้นี้ที่เป็นเพียงต� ำนาน สร้างเรื่องออกติดตาม เสาะหาด้วย ทศพร วงศ์รัตน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=