สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 19 จึงเป็นการแสดงคุณสมบัติความเป็นนักวิชาการค้นคว้าวิจัยและนักพิสูจน์ของสุนทรภู่ อนึ่ง โดยที่เมืองเพชรบุรียังเคยมีประวัติเป็นชุมชนที่มีการน� ำพันธุ์ม้ามาจากเมืองมะริดและเมือง ใกล้เคียงอื่น ๆ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เข้ามาเลี้ยง ฝึก และขยายพันธุ์ ก่อนกระจายไปที่อื่น โดยที่ประวัติ ดังกล่าวนี้ก็มีกล่าวอยู่ใน “ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ” ตอนที่ ๑๖ แต่งโดย ครูแจ้ง ขณะหลวงทรงพล กับ พันพาณ ไปรับม้าที่เมืองมะริด แล้วน� ำมาเลี้ยงในหมู่บ้านบริเวณเขาบันไดอิฐในเพชรบุรี (เรื่องนี้ยังน่าจะมี ส่วนจุดประกายเป็นม้า “ นิลมังกร ” หรือ “ ม้าสินธุ์ธพ ” ที่แปลได้ว่าเป็นม้าน�้ ำ ในนิทานพระอภัยมณี ตอนที่ ๒๔ ที่แต่งในปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ จึงเป็นไปได้ที่สุนทรภู่รู้เรื่องอายุวัฒนะ ลักษณะเป็นหัวพืชดังกล่าวมาก่อน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๗๔ ของการแต่งเป็นเรื่องไว้ใน ตอนที่ ๓๑) เป็นค� ำกลอนว่า “ อีเหลืองเมืองมะริดพลอยติดมา ผัวมันท่านว่าเป็นม้าน�้ ำ มีลูกตัวหนึ่งชื่อสีหมอก มันออกวันเสาร์ขึ้นเก้าค�่ ำ ร้ายกาจหนักหนานัยน์ตาด� ำ เห็นม้าหลวงข้ามน�้ ำก็ตามมา มาถึงสิงขรผ่อนพักหยุด ปล่อยม้าอุตลุดให้กินหญ้า กรมการกุยปราณส่งเนื่องมา ผ่านชะอ� ำถึงท่าเพชรบุรี เลี้ยงม้าอยู่ศาลาบ้านแตงแง บันไดอิฐติดแค่คิรีศรี สีหมอกลองเชิงเริงฤทธี เข้ากัดฟันขยี้เอาม้าเทศ ” เพื่อประกอบความเข้าใจ ผู้เขียนยังพบเรื่องม้าอยู่ในพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ด้วยข้อความว่า “ ม้าต้นม้าเทศม้าไทยขึ้นระวางตามชื่อ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงไว้ก็มี เป็นอันมาก พระยาถลางจัดซื้อม้าเทศที่เมืองเกาะหมากม้า ๑ ราคา ๘๐๐ เหรียญ ขาวบริสุทธิ์ทั้งตัว จักษุขาว ขนขาวละเอียดอ่อน สูง ๓ ศอก ๑๐ นิ้ว รูปงามนัก จะว่าม้าเผือกก็ว่าได้ โปรดให้ขึ้นระวาง พระราชทานชื่อพระสังข์รัศมี ครั้นล้มเสียแล้ว โปรดให้หาจัดซื้ออีกอย่างนั้น ก็ไม่ได้ ” (ทิพากรวงศมหา โกษาธิบดี, ๒๕๔๗ หน้า ๑๔๗) การที่สุนทรภู่พาดพิงเรื่องของม้าคู่กับสิ่งที่เป็นสมุนไพรทั้งพืชทั้งดินดังกล่าว ซึ่งคงจะมีคุณสมบัติ ช่วยกระตุ้นให้ม้าที่น� ำมาเลี้ยงที่นั่นผสมพันธุ์ สุนทรภู่เองก็ต้องเคยได้เห็นรูปร่างของหัวพืชชนิดนี้อย่างแน่นอน จึงหาชื่อให้ไว้ในนิทานและเช่นเดียวกับคนข้างเคียง ก็ต้องเคยลิ้มลอง ด้วยค� ำเล่าลือ ตามความเชื่อว่ามี คุณสมบัติเป็นยาอายุวัฒนะ และเป็นที่ใฝ่หา จึงเป็นไปได้ที่ “ ลูกนั้นหรือชื่อว่านมพระธรณี ” ตามค� ำของ ตนเองคืออาลักษณ์ (หรือต� ำแหน่งพระราชทานแก่ตัวของสุนทรภู่เองแต่งให้เป็นค� ำกลอน “ ฝ่ายอารักษ์ ศักดิ์สิทธิ์สถิตสถาน ” เพราะในใจไม่ใช่อารักษ์ ซึ่งสุนทรภู่เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง ดู “ นิราศเมืองแกลง ” “ นิราศพระประธม ” หรือ ช� ำระมาผิด) ซึ่งก็คือ กวาวเครืออีกทั้งดิน (โป่ง) ที่มีเค้าอยู่ใน “ พระอภัยมณี ทศพร วงศ์รัตน์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=