สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 18 “ กษัตริย์เมืองฌ้อองค์หนึ่ง นามว่าฌ้อเจียวอ๋อง ได้แล่นเรือส� ำเภาไปในทะเลพร้อมกับขุนนาง ได้พบของสิ่งหนึ่งลอยน�้ ำมา สีแดงกลมใหญ่ จึงให้คนลงไปเก็บยกขึ้นมาบนส� ำเภา และพระยาฌ้อเจียวอ๋อง ถามใครดู ก็ไม่มีใครทราบว่าคืออะไร จึงเอากระบี่ผ่าออกเป็น ๒ ซีก เนื้อในแดงดั่งผลแตงโม จึงเชือดออก ชิมดู มีรสหวานหาที่สุดไม่ แล้วตัดแจกบรรดากินกันทุกคน ซึ่งเมื่อเดินทางไปถึงบ้านเมืองแล้ว พระเจ้า ฌ้อเจียวอ๋องให้คนไปถามขงจู๊ดูว่า ผลไม้คืออะไร ขงจู๊ตอบว่า ผลนี้เรียกว่า “ ผลภูสิทธิ์ ” เกิดแต่ในน�้ ำ ไม่มีต้น ไม่มีราก เหมือนต้นไม้ทั้งปวง ต่อเมื่ออายุถึงพันปีจะมีขนาดโตเท่านี้ ใครได้พบได้เห็น และได้กิน นับว่าเป็นผู้มีบุญ เพราะเป็นของวิเศษ ” ส� ำหรับสุนทรภู่ ในเค้าของการเดินทางไปเพชรบุรี ในเดือนมกราคม ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๗๔ ที่มีพาดพิงต่อมาไว้ใน “ นิราศเมืองเพชร ” ว่าไปเพื่อบังสุกุลศพขุนแพ่ง ซึ่งในอดีตมักคุ้นกันกับสุนทรภู่ ตั้งแต่ราวปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ครั้งสุนทรภู่น� ำนางนิ่มหนีนางจัน หลังเกิดเหตุการณ์กับนางจันมาได้ ๒ ปีเต็ม ให้ไปอยู่เพชรบุรีกับหม่อมบุนนาก จนเกิดปัญหาใหญ่กันกับครอบครัวขุนแพ่ง ด้วยเรื่องสุนทรภู่เป็นชู้กับ นางนวล สาวคนรักของน้องชายขุนแพ่ง จนต้องหนีเอาชีวิตรอดไปทางกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ในปลาย ปีระกา พ.ศ. ๒๓๕๖ แล้วตอนนี้ขุนแพ่งได้เสียชีวิตลง หลังจากกลับจากไปท� ำศึกปราบขบถเจ้าอนุวงศ์ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๑) สุนทรภู่เมื่อครั้งที่ไปเพชรบุรี ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๓๗๔ ดังกล่าว นั้น ก็ได้เริ่มพบกับนางงิ้วหญิงผู้มีสามี (แล้วต่อมาได้ประสบการณ์เป็นคดีต้องเอาชีวิตรอดอีกครั้ง) พร้อมกับ พืชพรรณ มีลักษณะเป็นหัวชนิดนี้ ที่ชาวบ้านในบริเวณนี้ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ จึงได้ถือโอกาสสร้างเรื่องทันที เข้าใจว่าน่าจะแต่งเป็นเหตุการณ์สด โดยยังเป็นการจ� ำเอาเรื่องที่มีอยู่ในต� ำนานขุนช้างขุนแผนมาปะติดปะต่อ หรือสวมกันไว้ในนิทานพระอภัยมณีตั้งแต่ ตอนที่ ๓๑ พระอภัยมณีพบนางละเวง หน้า ๕๔๒-๕๔๓ ด้วยค� ำกลอน ในเค้าที่ผู้เขียนประมวลแล้วเข้าใจว่าน่าจะเป็นคุณสมบัติของ “ กวาวเครือ ” คือ “ ประเดี๋ยวหนึ่งตึงสะดุ้งดังผลุงลง กลิ้งอยู่ตรงหน้าเท่าน�้ ำเต้าทอง เหลืองอร่ามงามงอมหอมระรื่น ดูสดชื่นชูสีไม่มีสอง ” จากค� ำกลอนในเค้าของสมุนไพรดังกล่าวแล้ว สุนทรภู่ยังพูดพาดพิงถึงม้าและสัตว์ป่านานาชนิด ที่ได้กิน ซึ่งคงจะต้องเป็นข้อสังเกตของคนพื้นเมือง ตั้งแต่ครั้งโบราณที่ผ่านมาถึงสุนทรภู่ อย่างน้อยที่สุด ก็คงจะเป็นม้าอีกเช่นกัน ตามหลักฐานใน “ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ” ที่จะกล่าวต่อไปว่า เมื่อคนหามากิน กันบ้างอย่างสัตว์แล้วท� ำให้ร่างกาย “ เกิดก� ำลังก� ำจัดทั้งโรคาไม่ราคี ” ประวัติเช่นนี้ ที่สุนทรภู่รวบรวมมาได้ และบันทึกบอกกล่าวถึงความเป็นมาไว้จนท� ำให้เข้าใจได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับการใฝ่หาความรู้ ความเข้าใจ ด้วยการเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของคนเรา ในที่นี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า ก่อนที่คนจะรู้จักน� ำกวาวเครือมากิน คงจะได้สังเกตเห็นสัตว์กินมาก่อนนั่นเอง การค้นหาข้อมูลมาได้เช่นนี้ กวาวเครือ และดินโป่งเป็น ดินถนัน ถันสุธา นมพระธรณี ในนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=