สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 17 เพื่อประกอบความเข้าใจถึงที่มาของเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งก็ท� ำนองเดียวกับปี่พระอภัย จนท� ำให้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงเรื่อง “ จากปี่เตียวเหลียงถึงปี่สกอตเป็นปี่พระอภัย ” (ทศพร วงศ์รัตน์, ๒๕๕๙) มาแล้ว ในที่นี้ ผู้เขียนจึงขอน� ำหลักฐานจากเรื่อง “ เลียดก๊ก ” ที่มีประวัติพาดพิงอยู่ในต� ำนานหนังสือ “ สามก๊ก ” โดยสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ว่า ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๖๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย โปรดฯ ให้แปลเรื่อง “ เลียดก๊ก ” โดยรับสั่งให้แต่งตั้งผู้เป็นพนักงานแปลถึง ๑๒ คน คือ กรมหมื่นนเรศร์โยธี เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ เจ้าพระยายมราช (น้อย) พระยาโชฎึกราชเศรษฐี พระทองสื่อ จมื่นไวยวรนาถ นายจ่าเรศ นายเล่ห์อาวุธ หลวงลิลิตปรีชา หลวงวิเชียรปรีชา หลวงญาณปรีชา ขุนมหาสิทธิ โวหาร (สุนิสา มั่นคง, ๒๕๔๕) สุนทรภู่ซึ่งคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างการติดคุกที่หับเผย ซึ่งเคยอยู่ใกล้บริเวณศาล เจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพฯ ในปัจจุบันที่มีถนนหับเผย หรืออย่างน้อยต่อมาก็ต้องได้รู้ได้อ่านเรื่องนี้ หลังจาก คิดแต่งปี่พระอภัยจากปี่เตี่ยวเหลียง ใน “ ไซฮั่น ” มาตั้งแต่ในนิทานตอนที่ ๑ แล้ว ครั้งนี้จึงคงจะคิดเอาเรื่อง “ ผลภูสิทธิ์ ” จากเรื่อง “ เลียดก๊ก ” มาสวมกับหัวกวาวเครือเป็น “ ดินถนัน ” หรือ “ ถันสุธา ” หรือ “ นมพระธรณี ” ส� ำหรับนิทานพระอภัยมณี เริ่มใน ตอนที่ ๓๑ ซึ่งผู้เขียนขอยกเรื่องราวที่เป็นคุณสมบัติของ “ ผลภูสิทธิ์ ” (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, ๒๕๕๐) มาให้ผู้อ่านไว้ก่อนเพื่อได้ใช้เปรียบเทียบกัน ดังต่อไปนี้ คือ รูปที่ ๒ หัวที่เป็นส่วนรากของกวาวเครือขาว จากภาคเหนือของประเทศไทย มีน�้ ำหนักถึง ๖.๒ กิโลกรัม แม้หลังเก็บมานาน ถ่ายจากร้านจ� ำหน่ายในงานเกษตรแห่งชาติ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ทศพร วงศ์รัตน์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=