สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 16 ก่อนจะถึง “ ดินถนัน ” หรือ “ ถันสุธา ” หรือ “ นมพระธรณี ” ของสุนทรภู่ เพื่อเป็นจดหมายเหตุและเป็นตัวอย่างของวิถีชีวิตไทยส� ำหรับผู้อ่านต่อไป ในด้านความคิดและ การเข้าถึงยาอายุวัฒนะ สุนทรภู่ซึ่งโดยรวมก็มีความนึกคิดที่เป็นรากฐานทางด้านความต้องการ และก็เหมือน กับคนในสมัยปัจจุบันที่ปรารถนาจะประสบกับสิ่งที่ดีในชีวิต คือ ความเพรียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๔ ประการ ได้แก่ อายุ หรือความมีอายุยืน วรรณะ หรือความมีผิวพรรณผ่องใส สุขะ หรือความสุขกายสบายใจ และ พละ หรือความมีก� ำลังกายแข็งแรง มีสุขภาพดี มีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บ จึงเอาเรื่องเหล่านี้มาเป็นฉาก หรือเนื้อหาอีกด้านหนึ่ง ส� ำหรับงานการแต่งนิทานพระอภัยมณี ซึ่งแม้จะมีฉากและตัวละครเป็นผู้คนมากมาย อยู่แล้ว โดยที่ในความเป็นจริงแล้ว ด้วยส่วนประกอบนี้ สุนทรภู่คงจะยังต้องการแต่งให้สะท้อนเป็นภาพ ทั้งรูปธรรมให้ได้เก่งกับผู้หญิง อีกทั้งนามธรรมของตัวเองและผู้คนที่รู้จัก ฝากไว้ส� ำหรับตัวละคร ไม่ว่าตัวใด อย่างซ�้ ำแล้วซ�้ ำอีก เรื่องนี้หลายครั้งยังสามารถทบทวนได้จากข้อเท็จจริงของการตามหายาอายุวัฒนะที่ยังมี กล่าวอยู่อีกในนิราศ ทั้งที่แต่งควบคู่ในเวลาช่วงเดียวกัน ย้อนเรื่องระหว่างกัน หรือต่างกันออกไป จนเป็นข้อ จดจ� ำได้ของผู้เขียน อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า เรื่องของยาอายุวัฒนะที่เรียก “ ดินถนัน ” หรือ “ ถันสุธา ” หรือ “ นมพระธรณี ” มีกล่าวอยู่เฉพาะในนิทานพระอภัยมณี ซึ่งเมื่อผู้เขียนพิจารณาจากคุณสมบัติที่มีอยู่ตาม ค� ำกลอนว่า มีผลสีเหลือง เนื้อในสีแดง มีกลิ่นหอม หวานอร่อยชุ่มคอ ใช้วิธีฝานเพื่อรับประทานสดได้ เก็บรักษาไว้ได้นานไม่เน่า ไม่แห้งเหี่ยวทันที คือคงรูป มีประโยชน์แก่ทั้งคนและสัตว์ ท� ำให้อายุยืน ไม่มี โรคภัย ผิวพรรณดี เต่งตึง รักษาแผลหายสนิทอย่างรวดเร็ว ไม่มีเหงื่อ ไม่มัวหมอง นอนหลับสบาย ผู้ชาย กินแล้วดี มีความรู้สึกเป็นหนุ่มเป็นสาว กระชุ่ม กระชวย ร่างกายสดชื่น สมบูรณ์ ไม่คลื่นเหียน มีอารมณ์ ทางเพศ (“ เป็นที่ชื่นเชยบุรุษสุดสงวน ” “ จะชุ่มชื่นยืนยืดสืบพืชพันธุ์ ”) มีรูปร่างคล้ายฟักแฟง ขนาดเท่า น�้ ำเต้าทอง หรือฟักทอง หายาก จนไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป (“ ก� ำหนดนั้นพันปีผุดทีหนึ่ง ”) เพราะเป็นหัว อยู่ใต้ผิวดิน มีอยู่หรือเกิดอยู่ในที่ใด ดินบริเวณนั้นจะโป่งขึ้น และเห็นเป็นหยดไอน�้ ำ หากมิใช่เป็นความเขลา ก็เป็นไปได้ที่สุนทรภู่แต่งพากลอนไป รวมถึง “ เกลือโป่ง ” และ “ ดินถน� ำ ” (“ มนุษย์เราชาวเมืองเรียก เกลือโป่ง เพราะปล่องโปร่งเปลวกลิ่นดินถนัน ”) ด้วยรายละเอียดโดยตลอดเหล่านี้ ประกอบกับจากข้อมูล ที่หาได้ทั่วไปในปัจจุบัน ทั้งโดยชาวบ้าน หรือนักวิชาการ ทั้งหมดชวนให้ผู้เขียนเข้าใจได้ว่า น่าจะเป็น “ กวาวเครือ ” ซึ่งในสมัยโบราณคงยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย จึงเที่ยวหากันตามลายแทง และต� ำนาน หรือค� ำกล่าวขานต่อ ๆ กันมา ดังที่สุนทรภู่บันทึกไว้ในชื่อที่ต่างไป เพราะชื่อจริงดังกล่าวจากทางเหนือ ก็คงจะยังไม่รู้ จึงเรียกไปตามรูปร่างและที่มาหรือที่พบคือพื้นดิน เป็นชื่อต่าง ๆ ดังกล่าว ความคิดในการ แต่งชื่อสิ่งของ ตัวละคร สถานที่ซึ่งมีมากมายในนิทาน โดยสุนทรภู่ จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจศึกษา เป็นอย่างมาก กวาวเครือ และดินโป่งเป็น ดินถนัน ถันสุธา นมพระธรณี ในนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=