สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 15 กันได้ เช่น ต� ำนานยาอายุวัฒนะจากเมืองเหนือ ต� ำนานพระเจ้าตะเภาทอง ที่จะกล่าวต่อไป ต่อไปนี้ เพื่อน� ำทางเข้าสู่ประเด็นของชื่อเรื่อง ผู้เขียนจึงขอเริ่มด้วยการแสดงตัวตนของสุนทรภู่ ซึ่งเป็นคนมีเหตุผล มีความรู้น� ำสมัย ไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ท� ำอย่างไรก็บอกท� ำอย่างนั้น พูดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เอามาจากไหนก็บอก และสุนทรภู่ไม่เชื่อในหลายอย่างที่ผู้อื่นเชื่อกัน เช่น ที่เป็น “ ไสย ” ศาสตร์ที่ถือ “ เป็นเดรัจฉานวิชา ” (จาก “ พระอภัยมณีค� ำกลอน ” ตอนที่ ๔๐, ๔๙ หน้า ๗๗๒, ๙๘๓) โดยสุนทรภู่ยังเป็น นักปฏิบัติ มีการทดสอบ ค้นคว้า เป็นนักจดนักจ� ำ และพิสูจน์ หาที่มาและเหตุผล อยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าใจ อยากทดลอง อยากท� ำ (“ มีต� ำราแล้วก็ต้องทดลองดู ” จาก “ นิราศวัดเจ้าฟ้า ”) ไม่แพ้ความ สามารถในทางจินตนาการ ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้มีทักษะความสามารถในการเข้าถึงแทบทุกเรื่อง และ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะความกตัญญู กตเวที แต่ก็ไม่พ้นที่จะมีการอธิษฐาน อ้อนวอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม้การสะเดาะเคราะห์ โดยฝากไว้กับตัวละครที่มีอยู่มากมาย แต่แล้วในที่สุดก็ยังเป็นการ ไขว่คว้าหายาอายุวัฒนะ ซึ่งนั่นก็เป็นปรกติวิสัยของคนทั่วไป โดยพยายามถ่ายทอดวิสัยนี้ของตนด้วยค� ำของ ตัวเองอย่างขาดไม่ได้ ไว้ในรูปของงานค� ำกลอนที่ตนถนัดและชื่นชอบ ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่จ� ำเป็นที่จะต้อง อธิบาย แต่ก็ต้องค้นหามาชี้น� ำโดย “ ให้เนื้อเรื่องเป็นพยานกันเอง ” ตามวิธีของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์, ๒๔๕๖) ดังต่อไปนี้ คือ รูปที่ ๑ ต� ำรากวาวเครือที่กล่าวถึงสรรพคุณของกวาวเครือ ชนิดต่าง ๆ ของหลวงอนุสารสุนทร ที่ก่อให้เกิดการ ตื่นตัวของคนไทย ในคุณภาพใช้เป็นยาพื้นบ้านบ� ำรุง ร่างกาย ให้กลับเป็นหนุ่มเป็นสาว ทศพร วงศ์รัตน์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=