สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 14 ผู้เขียนจึงขอสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี แต่ค� ำกลอนนี้สุนทรภู่ก็จดจ� ำเอาไปใช้แต่ง อีก ไว้ใน “ นิราศพระประธม ” ว่า “ ทั้งสระศรีมีสี่มุมปทุมชาติ ระดะดาษดอกดวงบัวหลวงสลอน ” ซึ่งเป็น สถานที่ต่างไป ในที่นี้ยังเท่ากับให้เค้าความคิดของตัวเอง ไปจนถึงการเสียชีวิตของมารดาที่ชื่อ “ บัว ” (ทศพร วงศ์รัตน์, ๒๕๕๘) ความสอดคล้องกันเช่นนี้จึงยังให้ข้อคิดว่า งานของสุนทรภู่ทุกงาน แม้ที่เป็นนิทาน “ โคบุตร ” “ ลักษณวงศ์ ” และ “ สิงหไกรภพ ” ที่มีความสอดคล้อง เป็นเหตุเป็นผล ต่อเนื่องกัน คือร่องรอย ประวัติของตัวเอง ตามล� ำดับเหตุการณ์ และเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ที่ทยอยกันพระราชทานความอุปถัมภ์แก่ สุนทรภู่ อย่างไรก็ตาม ยังได้พบอีกว่า หลายตอนในนิทานพระอภัยมณีเป็นเหตุการณ์เดียวกันที่เคยใช้แต่ง มาก่อน แล้วน� ำมาแต่งซ�้ ำโดยมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นส� ำนวนของรายละเอียด ฉาก และตัวละครที่ต่างไป ที่ส� ำคัญ และยากที่จะเข้าใจ เช่น ขบถเจ้าอนุวงศ์ในนิทานก็พบว่า เริ่มด้วยเป็นร่างหนึ่งของอุศเรน (เจ้าอนุวงศ์หรือ เจ้าราชวงศ์บางครั้งมีเค้าภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ) ในตอนที่ ๑๘-๒๖ แล้วเป็นเจ้าละมาน (เจ้าโป้ สุทธิสาร และ เพี้ยรามพิชัย รวมทั้งเจ้าอนุวงศ์) ในตอนที่ ๒๗ เป็นย่องตอด (เจ้าราชวงศ์ หรือเจ้าเง่าแม่ทัพหน้า เป็นบุตร ของเจ้าอนุวงศ์ มีประวัติสู้ตัวต่อตัวกับเจ้าพระยาราชสุภาวดี ร�่ ำลือกันว่าอยู่ยงคงกระพันหายตัวได้ “ ใครฆ่าตีชีวิตไม่วางวาย ” หรือ “ ใครล้างผลาญชีวันไม่บรรลัย ” หรือ “ ฆ่าไม่ตายแต่ปิดกิตติศัพท์ ” หรือ “ มันไม่ตายแต่ว่าล้มลงซมซาน ” และ “ เห็นแทงฟันมันไม่ม้วยจึงช่วยพลอย ” อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดถึง ตอนที่ ๖๔ ก็ ให้ประวัติไว้ว่า “ ทหารใหญ่อ้ายย่องตอดนั้นวอดวาย ”) ในตอนที่ ๓๒-๓๓ เป็นท้าวเจ้าวาหุโลม (เจ้าอนุวงศ์) ในตอนที่ ๔๙-๕๐ ต่อมาก็เป็นตรีเมฆ (เจ้าอนุวงศ์) ในตอนที่ ๕๐ ผู้เขียนจึงขอชี้น� ำไว้ในที่นี้อีกครั้งว่า จากวัน เดือน และปี ที่จะต้องเป็นทางจันทรคติเท่านั้น รวมประมาณ ๕๐ ครั้ง ที่มีกล่าวอยู่ในนิทานเรื่องนี้ ผู้เขียนได้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นเทียบกับล� ำดับเหตุการณ์ ในพงศาวดาร ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคล และต่อยอด เพื่อสืบหาที่มาที่ไป อะไรเป็นอะไร และใครเป็น ใคร ในวรรณกรรมเรื่องพระอภัยมณี แต่ที่ส� ำคัญกว่าคือ สุนทรภู่คือใคร อนึ่ง ในการพิจารณาเรื่องเหล่านี้ ดรรชนีที่มีคู่มากับหนังสือนิทาน ประหนึ่งบทคัดย่อ ที่ชี้ช่องได้ตรงกว่าค� ำวิจารณ์ของนักวิจัย ซึ่งผู้เขียน ยังไม่รู้ว่ามีที่มาอย่างไร ตั้งแต่สมัยใด หรือโดยสุนทรภู่เอง เพราะมีนัยของเหตุการณ์จริง ก็มีส่วนช่วยชี้น� ำให้ หลักฐานในการศึกษาค้นคว้าของผู้เขียนเป็นอย่างมาก แต่ที่ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ของคนในปัจจุบันก็คือ ในภาพของสุนทรภู่ กับผู้ที่สนใจร่วมสมัยทั่วไป เมื่อได้อ่านได้ฟังงานค� ำกลอนของสุนทรภู่ ก็ไม่ยากนักที่จะ เข้าใจ เพราะยังอาจได้รู้ ได้เห็นเป็นฉากของชีวิตผู้คนสมัยนั้นและเหตุการณ์จริงเทียบกับในนิทาน ทั้งบุคคล เวลา สถานที่จริงที่สุนทรภู่เอามาแต่งประกอบ จนสามารถจับคู่ตัวละครกับบุคคลจริงได้ ต่างกับผู้อ่าน แม้กระทั่งนักค้นคว้าประวัติ และงานของสุนทรภู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับอีกหลายบทหลายตอน ทั้งในนิราศ นิทาน ก็พบว่ามีที่สุนทรภู่ปั้นเสริมเติมแต่งเป็นเรื่องขึ้นจากต� ำนาน หรือค� ำเล่าต่อ ๆ กันมา เพราะน� ำมาเทียบ กวาวเครือ และดินโป่งเป็น ดินถนัน ถันสุธา นมพระธรณี ในนิทานพระอภัยมณีค� ำกลอน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=