สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 177 ที่เหลือแข็งแรงขึ้น ป้องกันการแตก และเป็นฉนวนป้องกันการเสียวฟันจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ ระดับหนึ่ง ๔. ไม่เกิดการกร่อน (corrosion) ในขณะที่อะมัลกัมบางชนิดยังมีการกร่อนได้บ้าง ๕. ลดการใช้ปรอท รวมทั้งลดปริมาณปรอทที่ทันตแพทย์ได้รับในการท� ำงาน อันอาจเป็นอันตราย ต่อระบบต่าง ๆ ได้ ข้อจ� ำกัดของคอมโพซิตเรซิน ๑. แม้ว่าจะสามารถใช้อุดฟันหลังได้ แต่เนื่องจากความแข็งแรงทนทานไม่เท่าอะมัลกัม จึงควร เลือกใช้เป็นบางกรณี เช่น ฟันหลังที่ไม่เสียเนื้อฟันไปกับรอยผุมากนัก หรือใช้อุดฟันหลังด้านแก้ม (buccal) ที่ต้องการความสวยงาม และไม่ต้องรับแรงบดเคี้ยวมากนัก ๒. ในอดีต คอมโพซิตเรซินเกิดการหดตัว (shrinkage) ขณะบ่ม ท� ำให้เกิดรอยรั่วบริเวณขอบ ขอบแตกเป็นสาเหตุให้เกิดรอยผุภายหลัง (subsequent decay) แต่ปัจจุบันปัญหานี้ลดลงมาก เนื่องจาก การปรับปรุงคุณภาพโดยผู้ผลิต ๓. ความทนทานและประสิทธิภาพของคอมโพซิตขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เทคนิคและความช� ำนาญของทันตแพทย์ในการเตรียมโพรงฟัน ในการใช้แสงบ่ม และอื่น ๆ เป็นต้น ว่า แสงสีฟ้านั้นมีความสามารถในการบ่มคอมโพซิตได้ลึกไม่เกิน ๒ มิลลิเมตร ถ้าลึกกว่านั้น ต้องอุดและบ่ม เป็นชั้น ๆ จึงต้องใช้เวลาในการอุดนานกว่าอะมัลกัม เทคนิคการถือแอลอีดีในการบ่มให้นิ่งและถูกต้อง เป็นต้น ว่า ต้องไม่ให้ปลายเครื่องมือแตะเนื้อวัสดุ แต่ให้ใกล้วัสดุมากที่สุด คือ ประมาณ ๑ มิลลิเมตร ต้องให้แสง ตั้งฉากกับผิวของวัสดุบริเวณดังกล่าว ต้องใช้เวลาในการบ่มอย่างถูกต้อง เมื่อคอมโพซิตมีความหนามากขึ้น หรือมีสีเข้ม ต้องใช้เวลาในการบ่มนานขึ้นรวมทั้งต้องบ่มได้ทั่วถึง มิฉะนั้นคุณภาพวัสดุอุดจะลดลง ( Felix et al. , 2006; Price et al. , 2010 ) ๔. ใช้เวลาในการท� ำงานนานกว่าการอุดด้วยอะมัลกัม นอกจากนี้ยังมีความล� ำบากในการอุด เช่น โพรงต้องแห้งสนิท หรือการแต่งรูปร่างฟัน (contour) ท� ำได้ยาก ๕. การมีสีเหมือนฟันท� ำให้รื้อได้ล� ำบาก เนื่องจากสายตาแยกวัสดุออกจากเนื้อฟันได้ไม่ชัดเจน เพราะขณะกรอมีน�้ ำฉีดออกมาตลอดเวลา การกรออาจผิดพลาดท� ำให้เสียเนื้อฟันมากขึ้น หรืออาจทะลุ โพรงฟันหากไม่ช� ำนาญพอ ๖. ราคาสูงกว่าอะมัลกัม บริษัทประกันภัยบางแห่งยอมให้เบิกค่าอุดฟันหลังเฉพาะอะมัลกัมเท่านั้น หากอุดฟันหลังด้วยคอมโพซิต ผู้ป่วยต้องจ่ายเอง เมื่อไม่นานมานี้มีรายงาน อันตรายจากการอุดด้วยอะมัลกัม ( Ahlqwist et al. , 1993; ใจนุช จงรักษ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=