สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 176 ความยาวคลื่น ๑๐ ถึง ๓๘๐ นาโนเมตร แต่มีข้อจ� ำกัด คือบ่มได้ไม่ลึกพอและเป็นอันตราย ในกลาง ค.ศ. ๑๙๗๐ จึงเปลี่ยนมาใช้แสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า โดยใช้หลอดแฮโลเจน (quartz halogen bulb) หรือย่อว่า QTH ก� ำเนิดแสงความยาวคลื่น ๔๖๐ ถึง ๔๘๐ นาโนเมตร ด้วยการท� ำให้ขดลวดทังสเตน ร้อนขึ้นจากกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะบ่มแทรก (penetrate) ลงไปได้ในเนื้อคอมโพซิตได้ลึกกว่า ( D’Alpino et al., 2006; Malhotra et al., 2010 ) กระทั่งปัจจุบัน แสงที่ใช้กันแพร่หลายคือ ไดโอดเปล่งแสง (light emitting diode) ซึ่งใช้ค� ำย่อ ว่า แอลอีดี (LED) เป็นสารกึ่งตัวน� ำเชื่อมกัน และท� ำให้เกิดแสงที่มีช่วงความยาวคลื่น ๔๕๐ ถึง ๔๙๐ นาโนเมตร ( Mills , 1999; Duke , 2001 ) และมีก� ำลังมากกว่า ๑,๐๐๐ มิลลิวัตต์ต่อหนึ่งตารางเซนติเมตร ( Kraemer et al. , 2008 ) โดยไม่เกิดความร้อนมากเหมือนการใช้หลอดแฮโลเจน เป็นการยืดอายุการใช้งาน ของอุปกรณ์ พัดลมที่ใช้กระจายความร้อนมีขนาดเล็ก หรือไม่ต้องมีพัดลม ไม่เกิดเสียงรบกวน แสงที่ได้ มีความเข้มคงตัวและพอเหมาะ ( Shortall et al. , 1996 ) เนื่องจากแสงจากแอลอีดีมีความเข้มสูง ถึงแม้จะเชื่อได้ว่าเป็นแสงสว่างธรรมดาไม่ใช่แสง อัลตราไวโอเลต แต่อาจเป็นอันตรายต่อสายตาทั้งทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ และผู้ป่วยได้ ( Ellen et al. , 2004 ) จึงไม่ควรจ้องที่แสงสว่างโดยตรง ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์จะมองผ่านแผ่นกรองแสงสีส้ม (orange tinted glass) ที่ออกแบบโดยผู้ผลิตอย่างถูกต้อง ( Bruzell et al. , 2007 ) ข้อส� ำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อคุณภาพส่วนหนึ่งของคอมโพซิตขึ้นอยู่กับแสง และอุปกรณ์ การเกิดแสง ตลอดจนเทคนิคการบ่ม ซึ่งทันตแพทย์ต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วน จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ ของทันตแพทย์ ( Mitton and Wilson , 2001 ) ที่จะหมั่นตรวจสอบเครื่องฉายแสงว่ามีคุณภาพเหมือนเดิม หรือไม่ โดยทั่วไปหลอดไฟนั้นมีอายุการใช้งานไม่เกิน ๖ เดือน หากหลอดมัวหรือสีคล�้ ำขึ้น ความเข้มแสง จะลดลง ( Friedman , 1991 ) ข้อดีของคอมโพซิตเรซิน ๑. ความสวยงามส� ำคัญเป็นอันดับแรก เพราะมีสีใกล้เคียงกับฟัน และมีหลายระดับสีให้เลือก อย่างไรก็ตาม การดื่มชา กาแฟ หรืออาหารใส่สี อาจท� ำให้สีของคอมโพซิตเรซินเปลี่ยนได้ ๒. ใช้อุดได้หลายต� ำแหน่งที่ไม่สามารถอุดด้วยอะมัลกัม เช่น ปลายฟันบิ่น ฟันสึก รวมทั้งสามารถ อุดซ่อมแซมได้เมื่อเสียหายเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นอะมัลกัมต้องรื้อออกหมด ๓. ยึดกับเนื้อฟันได้อย่างดีด้วยวิธีทางเคมี (chemical bond) เพราะทาสารยึด (รวมทั้งการใช้ acid etching) ยิ่งท� ำให้วัสดุอุดยึดติดตัวฟันได้ดีมาก ดังนั้น การกรอแต่งโพรงฟันเพื่อการอุดจึงไม่ต้องขยาย ไปมาก ไม่เสียเนื้อฟันมากเหมือนการแต่งโพรงส� ำหรับอะมัลกัม นอกจากนี้ การยึดติดตัวฟันท� ำให้เนื้อฟัน วัสดุบูรณะฟันชนิดบ่มด้วยแสง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=