สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 175 โดยมีสาร catalyst เป็นตัวเร่ง ดังนั้น ในระยะแรกคอมโพซิตเรซินจึงต้องผสมนอกปากผู้ป่วย เมื่อเข้ากัน ดีแล้ว น� ำเข้าสู่โพรงฟันที่เตรียมไว้ แต่งให้ได้รูปก่อนแข็งตัว เรียกคอมโพซิตเรซินชนิดนี้ว่าเป็นแบบ self cure คือบ่มให้แข็งได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีข้อจ� ำกัดในเรื่องระยะเวลาท� ำงาน คือทันตแพทย์ต้องแต่งวัสดุอุดให้ได้ ตามต้องการก่อนที่วัสดุจะแข็งตัว มิฉะนั้นการกรอแต่งจะยากและใช้เวลานานขึ้นอีก ในระยะแรกที่น� ำเข้า มาใช้ ยังไม่สามารถใช้อุดแทนที่อะมัลกัมในฟันหลังได้ เนื่องจากแข็งแรงไม่พอ วิวัฒนาการของทันตวัสดุได้ก้าวหน้าและพัฒนามาถึงคอมโพซิตเรซินชนิดบ่มด้วยแสง ( Ruegge- berg et al ., 1994 ) ซึ่งอธิบายได้คร่าว ๆ ว่า คอมโพซิตชนิดนี้ ไม่ต้องผสมกับตัวเร่งก่อนน� ำเข้าอุด เพียงเลือกสีใกล้เคียงสีของฟัน จากนั้นใช้กรดอ่อนซึ่งเตรียมในรูปของเจลทาในโพรงฟันที่เตรียมไว้ กรดจะท� ำให้เนื้อฟันส่วนที่เรียกว่า dentinal tubule เปิดออก เนื้อฟันประมาณ ๕ ถึง ๓๐ ไมโครมิเตอร์ จะขรุขระเพื่อให้คอมโพซิตเรซินยึด (bond) กับเนื้อฟันได้ดี เรียกกระบวนการนี้ว่า acid etching จากนั้น ทันตแพทย์ล้างกรดออกหมด เป่าโพรงฟันให้แห้งสนิท ทาน�้ ำยายึดวัสดุอุด (adhesive) ให้ติดแน่น กับเนื้อฟัน เป่าแห้งอีกครั้ง แล้วตักคอมโพซิตเรซินที่เลือกสีไว้แล้ว เข้าสู่โพรงที่เตรียมไว้ในฟันหน้าหรือ ฟันหลัง คอมโพซิตเรซินนี้จะยังไม่แข็งตัว ทันตแพทย์มีเวลาแต่งให้สวยงามตามต้องการ แล้วใช้อุปกรณ์ ที่ให้ก� ำเนิดแสงสีฟ้า ที่มีความยาวคลื่น ๔๐๐-๔๕๐ นาโนเมตร (รูปที่ ๑) วางลงใกล้เนื้อคอมโพซิต กดสวิตช์ ให้ล� ำแสงสีฟ้านั้นบ่มจนวัสดุแข็งตัว ประมาณ ๔๐ วินาที หรือตามเวลาที่ผู้ผลิตก� ำหนด กระบวนการนี้ เรียกว่า curing composite resin หรือการบ่มคอมโพซิต ซึ่งเมื่อแข็งตัวแล้ว กรอแต่งได้ทันทีไม่ต้องรอ จนครบ ๒๔ ชั่วโมง รูปที่ ๑ Light cure instrument Kulzer, Germany เมื่อพิจารณาถึงแสงที่ใช้บ่มคอมโพซิต ว่าคืออะไร มีอันตรายหรือไม่ อธิบายได้ว่า การใช้แสง บ่มคอมโพซิตในงานทันตกรรมเริ่มเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๙ ( Strassler, 2011 ) แสงที่ใช้คืออัลตราไวโอเลต ใจนุช จงรักษ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=