สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 174 วัสดุชนิดนี้รู้จักกันมานานกว่าร้อยปีแล้ว เมื่อจะใช้อุดฟัน ทันตแพทย์จะตักรอยผุออกจากตัวฟัน จนหมด และจัดแต่งเป็นโพรง (cavity) ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป่าโพรงที่เตรียมไว้ให้แห้ง น� ำส่วนผสม ดังกล่าวมาปั่นให้เข้ากัน น� ำเข้าสู่โพรงฟันที่เตรียมไว้ อัดให้แน่นและสลัก (carve) เป็นรูปร่างแทนเนื้อฟัน ที่หายไป ทั้งนี้ต้องสลักหรือแต่งรายละเอียดให้เสร็จก่อนอะมัลกัมบางส่วนแข็งตัวคือ ภายใน ๑๐ นาที อะมัลกัมส่วนที่เหลือจะแข็งตัวเต็มที่ประมาณ ๑๐ ถึง ๑๒ ชั่วโมง ( Amalgam filling , 2015 ) ดังนั้น ผู้ป่วย จึงได้รับค� ำแนะน� ำว่า ให้หลีกเลี่ยงการใช้ฟันด้านที่อุด จนกว่าเวลาจะผ่านไปครบ ๒๔ ชั่วโมง จากนั้นจึงนัด มาขัดแต่งวัสดุอุดให้เรียบมันอีกครั้งหนึ่ง ข้อดีของอะมัลกัมคือ เมื่อแข็งตัวแล้วจะทนต่อแรงบดเคี้ยวได้ดี ราคาไม่สูง เมื่อผสมเข้าที่แล้วน� ำ เข้าช่องปากสู่โพรงที่ทันตแพทย์เตรียมไว้ได้ไม่ยาก ทั้งมีความคงทนสูง จึงยังคงใช้เป็นวัสดุอุดฟันหลังทุกวันนี้ (แต่ไม่ใช้อุดฟันหน้าหรือคอฟัน เนื่องจากสีไม่สวย คือ สีไม่กลมกลืนกับเนื้อฟัน) ส่วนฟันหน้านั้น นอกจากจะต้องการความแข็งแรงพอควรแล้ววัสดุบูรณะฟันหน้ายังต้องมีความ สวยงาม มีสีคล้ายฟันอีกด้วย ในอดีต มักบูรณะฟันหน้าหรือฟันหลังด้านแก้ม (buccal surface of posterior teeth) โดยใช้ซิลิเกตซีเมนต์ (silicate cement) ซึ่งต้องผสมผงอะลูมิโนซิลิเกตที่มีฟลูออไรด์ ผสมอยู่ด้วยให้เข้ากับกรดออร์โทฟอสฟอริก (orthophosphoric acid) เป็นการผสมด้วยมือ เมื่อแข็งตัวจะ เปราะจึงมักแตกรั่ว ท� ำให้รอยผุเกิดขึ้นใหม่ รวมทั้งกรดที่อาจเหลือภายหลังการผสมจะเป็นอันตราย แก่ฟันได้ จึงมีความพยายามในการผลิตวัสดุอุดชนิดอื่นขึ้นมาแทนที่ ไม่ว่าจะเป็นกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ (glass ionomer cement) หรืออื่น ๆ กระทั่ง ค.ศ. ๒๐๐๐ เริ่มมีการใช้วัสดุบูรณะฟันที่สามารถอุดได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง เรียกว่า คอมโพซิตเรซินชนิดบ่มด้วยแสง (light-cured composite resin) วัสดุชนิดนี้จึงเป็นทางเลือกของการใช้วัสดุส� ำหรับทันตแพทย์ และส� ำหรับผู้ป่วยที่จะได้รับรู้ข้อมูล เหล่านี้ด้วย ( Shenoy , 2008 ) บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้เรื่องคอมโพซิตเรซิน (composite resin) ซึ่งเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ glass ionomer cement แต่จะแข็งตัวเมื่อถูกบ่ม ด้วยแสง (light-cured) และเพิ่มแรงโค้งงอ (flexible strength) มากขึ้นด้วย คอมโพซิตเรซิน (composite resin) ในงานทันตกรรม เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า วัสดุอุด สีขาว (white filling) หรือวัสดุอุดสีเดียวกับฟัน (tooth coloured filling) ประกอบด้วย resin base ได้แก่ bisphenol A-glycidyl methacrylate (bis-GMA) หรือ urethane dimethacrylate (UDMA) และ ผงซิลิกา และอื่น ๆ ส่วนประกอบเหล่านี้อาจมีสัดส่วนเปลี่ยนแปลงไปได้ตามที่ผู้ผลิตเติมส่วนอื่นเข้าไป เช่น filler เพื่อให้มีความโปร่งแสงมากขึ้นและทนต่อการสึกหรอมากขึ้นด้วย รวมทั้งใส่สารช่วยในการยึดของเรซิน เบสและซิลิกา หรือสารช่วยในการเกิดพอลิเมอร์ (polymerization) เมื่อเรซินได้รับแสงหรือความร้อน วัสดุบูรณะฟันชนิดบ่มด้วยแสง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=