สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วัสดุบูรณะฟันชนิดบ่มด้วยแสง* ใจนุช จงรักษ์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา รังสีวิทยาคลินิก ศูนย์ทันตกรรม มหาจักรีสิรินธร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล รังสีวิทยาคลินิก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บทคัดย่อ วัสดุบูรณะฟันชนิดบ่มด้วยแสง หรือคอมโพซิตเรซินชนิดบ่มด้วยแสง รู้จักกันในงานทันตกรรม ว่า light-cured composite resin หรือวัสดุอุดสีคล้ายฟัน หรือวัสดุอุดสีขาว (ต่างกับวัสดุอะมัลกัม ซึ่งมีสีเงิน) เป็นวัสดุที่ถูกพัฒนาขึ้นไม่นานมานี้ และสามารถใช้บูรณะทั้งฟันหน้าและฟันหลังบางกรณี วัสดุชนิดนี้มีเรซินสังเคราะห์เป็นพื้นฐาน และมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ผงแก้ว หรือผงควอตซ์ เป็นต้น เพื่อให้ มีสมบัติตามต้องการ จะแข็งตัวต่อเมื่อได้รับแสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่น ๔๐๐-๔๕๐ นาโนเมตร จากแหล่ง ก� ำเนิดแสง LED ท� ำให้ทันตแพทย์มีเวลานานพอที่จะแต่งวัสดุนี้ได้สวยและถูกต้องตามหลัก ข้อดีอย่างยิ่ง ของการบูรณะฟันด้วยวัสดุชนิดนี้คือความสวยงาม เนื่องจากมีสีคล้ายฟันให้เลือกหลายระดับ แต่มีข้อจ� ำกัด หรือพึงระวัง ให้เป็นข้อคิดที่ทันตแพทย์และผู้ป่วยควรทราบ เพื่อใช้ตัดสินใจเลือกวัสดุบูรณะฟันได้อย่าง เหมาะสม และเกิดประโยชน์มากที่สุด ค� ำส� ำคัญ : วัสดุบูรณะฟัน, คอมโพซิตเรซิน, เรซินสังเคราะห์, แหล่งก� ำเนิดแสง เมื่อกล่าวถึงวัสดุบูรณะฟัน หรืออุดฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟันหลัง เรามักนึกถึงวัสดุในช่องปาก ที่มีสีเงิน แข็งและคงทน เรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ซึ่งเป็นสารผสมของโลหะเจือหรืออัลลอย (alloy) ร้อยละ ๔๖ ถึง ๕๗ กับสารปรอท (mercury) ในสภาพของเหลวร้อยละ ๔๓ ถึง ๕๔ ปั่นเป็นเนื้อเดียวกัน โดยเครื่องปั่นที่เรียกว่า dental amalgamator สารอัลลอยนั้นประกอบด้วย เงิน ทองแดง ดีบุก และ อาจมีส่วนผสมอื่นอีกเล็กน้อย เพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้น วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ * บรรยายในการประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=