สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 170 การค� ำนวณหาเดือนที่มีอธิกมาสของปฏิทินสุวรรณภูมิ การก� ำหนดเดือนอธิกมาสมาในทางราชการได้เลือกก� ำหนดในเดือน ๘ เพื่อป้องกันความสับสน อย่างไรก็ตาม หากต้องการการท� ำปฏิทินให้ละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นพระราชด� ำริของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ทรงให้แนวคิดลักษณะนี้ไว้ ในปฏิทินปักขคณนา โดยอาจแทรกเดือน อธิกมาสในเดือนอื่นที่ไม่ใช่เดือน ๘ เพื่อให้เที่ยงตรงต่อปรากฏการณ์ดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ผู้เขียนเสนอการค� ำนวณเดือนที่มีอธิกมาสมา โดยสูตรต่อไปนี้ เดือนที่มี ๒ หน หรือเดือนที่มีอธิกมาสมา m = INT(13.5-12f) โดยที่ ● f = MOD((จ.ศ.+S n ), A) ● INT( ) เป็นฟังก์ชันหาส่วนที่เป็นจ� ำนวนเต็ม เช่น INT(12.6) = 12 ● มีค่าคงตัว S n และA เท่ากับสูตรข้างต้น ตัวอย่าง พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือ จ.ศ. ๑๓๗๗ ในแบบที่ ๔ f = MOD((จ.ศ.+S 4 ), A) f = 0.365539 ซึ่งน้อยกว่า ๑ จึงเป็นปีอธิกมาสในแบบที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป คือค� ำนวณหาเดือน ที่มีอธิกมาสดังนี้ m = INT(13.5 - 12x0.365539) m = INT(9.1135) = 9 พ.ศ. ๒๕๕๘ มีอธิกมาสมาเดือน ๙ หมายความว่า หากต้องการท� ำปฏิทินสุวรรณภูมิให้ละเอียด ควรก� ำหนดให้เดือน ๙ มี ๒ หน แทนที่จะเป็นเดือน ๘ ๑ / ๒ มี ๒ หนตามประเพณีนิยม แต่โดยหลักคณิตศาสตร์ แล้ว เดือน ๙ หนแรกนี้น่าจะเรียกว่า เดือน ๘ เนื่องจากแทรกเข้าไประหว่างเดือน ๘ จริงกับเดือน ๙ จริง แต่เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนจึงเรียกตามประเพณีนิยมว่า เดือน ๙ หนแรก เมื่อหันมาพิจารณาปีอธิกมาสของปฏิทินหลวง ซึ่งแทรกด้วยเดือน ๗ ๑ / ๒ (เรียกว่า เดือน ๘ หนแรก) แต่ก� ำหนดวันวิสาขบูชาในเดือน ๗ และมาฆบูชาในเดือน ๔ แล้ว อาจถือว่า เดือน ๗ ในปฏิทิน ก็คือเดือน ๖ ในทางคณิตศาสตร์และเดือนยี่ (๒) ในปฏิทินก็คือเดือนอ้าย (๑) ในทางคณิตศาสตร์ ดังนั้น เดือนที่แทรกเข้าไปจริง ๆ คือ เดือนอ้าย (๑) ในปฏิทิน ซึ่งในทางคณิตศาสตร์ก็คือเดือน ๐ นั่นเอง ปฏิทินสุวรรณภูมิ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=