สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 168 ปัญหาของปฏิทินจันทรคติแบบอ้างอิงดาวฤกษ์ ปฏิทินหลวงไทย หรือแบบสุโขทัย มีระยะเวลา ๑ ปี และมีพื้นฐานมาจากการอ้างอิงต� ำแหน่ง ดาวฤกษ์ ( ลอย ชุนพงษ์ทอง, ๒๕๕๐ ) หรือที่เรียกว่าแบบดาราคติ (Sidereal year) ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป นับร้อยปี วันส� ำคัญ จะเคลื่อนไปเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับปฏิทินสากล Gregorian ที่ยึดปีฤดูกาล (Tropical year) เป็นหลัก ดังเช่น วันสงกรานต์ ในปัจจุบันมักจะตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน และเลื่อนไปประมาณ ๑ วัน ในทุก ๆ ๖๐ ปี จนกลายเป็นฤดูฝน ส่วนวันเข้าพรรษาก็จะเลื่อนไปจนกลายเป็นเดือนมิถุนายน ไม่สอดคล้องกับวันวิสาขบูชาของโลก ซึ่งจัดในเดือน พฤษภาคม ตามประกาศขององค์การสหประชาชาติ (ลอย ชุนพงษ์ทอง ๒๕๕๓) ปฏิทินจันทรคติแบบอ้างอิงปฏิทินสากล ปฏิทินจันทรคติแบบอ้างอิงปฏิทินสากล เป็นแนวคิดที่ท� ำให้ ๑ ปีของปฏิทินจัทรคติเท่ากับ ๑ ปี ของฤดูกาล ดังที่เรียกปฏิทินตามแนวคิดนี้ว่า ปฏิทินสุวรรณภูมิ ( แบบ สมัย ยอดอินทร์ ) ในหนังสือ งานวิจัย จากข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับข้อขัดแย้ง เรื่องการเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย พ.ศ. ๒๕๕๕ โดย รศ.สมัย ยอดอินทร์ และคณะ ซึ่งระบุว่า ในสมัยก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี ได้มีแนวคิด ปฏิทินจันทรคติที่อ้างอิงฤดูกาล หนังสือดังกล่าวเสนอให้ใช้ปฏิทินสากลเกรกอเรี่ยน ซึ่ง ๑ ปี เท่ากับ ๓๖๕.๒๔๒๕ วัน ปฏิทินจันทรคติแบบอ้างอิงฤดูกาล แนวคิดปฏิทินจันทรคติแบบอ้างอิงฤดูกาลของผู้เขียน แตกต่างกับของ รศ.สมัย ยอดอินทร์ เพราะ ยึดปีฤดูกาล (Tropical year) โดยตรงเป็นหลัก โดยให้ ๑ ปี เท่ากับ ๓๖๕.๒๔๒๑๙ วัน และ จัดวันวิสาขบูชา ของโลกให้อยู่ในเดือนพฤษภาคมให้มากที่สุด โดยให้ชื่อตามกันว่า ปฏิทินสุวรรณภูมิแบบที่ ๑, ๒ และ ๓ การค� ำนวณหาปีอธิกมาสของปฏิทินสุวรรณภูมิ ผู้เขียนเสนอสูตรในการค� ำนวณหาปีอธิกมาสของปฏิทินสุวรรณภูมิดังต่อไปนี้ คือ เป็นปีอธิกมาส เมื่อ f = MOD((จ.ศ. + S n ), A) < 1 โดยที่ ● จ.ศ. คือ เลขปีจุลศักราช ● MOD( ) เป็นฟังก์ชันหารหาเศษ เช่น MOD(4.1, 3) = 1.1 ปฏิทินสุวรรณภูมิ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=