สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปฏิทินสุวรรณภูมิ ลอย ชุนพงษ์ทอง* บทคัดย่อ ปีปรกติของปฏิทินไทยมีจ� ำนวนวันน้อยกว่าปีสุริยคติราว ๑๑ วัน เพื่อให้ปีจันทรคติและปีสุริคติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ปฏิทินสุริยจันทรคติไทยมีการเติมเดือนพิเศษเข้าไประหว่างเดือน ๗ และเดือน ๘ ในบางปี นิยมเรียกเดือนที่แทรกนี้ว่า เดือน ๘ หนแรก ส่วนปีที่มีการแทรกเดือนนี้เรียกว่า ปีอธิกมาส การกลับมาของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าเพื่อบอกระยะเวลาใน ๑ ปี ขึ้นกับต� ำแหน่งที่ใช้อ้างอิง ซึ่งมี ๒ ระบบคือ การกลับมาหาดาวฤกษ์ดวงเดิม หรือระบบอ้างอิงปีดาวฤกษ์ (sidereal system) ซึ่งใช้มา เป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน การกลับมาที่ต� ำแหน่งอ้างอิงของแกนโลก หรือฤดูกาล (tropical system) โดยปัจจุบันปฏิทินไทยมีระยะเวลา ๑ ปี อ้างอิงปีดาวฤกษ์ (sidereal year) จึงคลาดเคลื่อนไป จากปีฤดูกาล (tropical year) ราว ๑ วันต่อ ๗๐ ปี ท� ำให้วันส� ำคัญทางพุทธศาสนามีแนวโน้มที่จะผิดเพี้ยน ไปจากฤดูกาล งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีค� ำนวณหาการเป็นปีหรือไม่เป็นปีอธิกมาส โดยอาศัยค่าทางดาราศาสตร์ สมัยใหม่ เพื่อปรับปรุงปฏิทินไทยจากระบบอ้างอิงปีดาวฤกษ์ ไปสู่ระบบอ้างอิงปีฤดูกาล ค� ำส� ำคัญ : ปฏิทินสุริยจันทรคติไทย, ปฏิทินสุวรรณภูมิ, อ้างอิงปีฤดูกาล, อ้างอิงปีดาวฤกษ์, ดาราคติ, การค� ำนวณหาปีอธิกมาส วันวิสาขบูชาของสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติก� ำหนดให้วันเพ็ญในเดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นวันวิสาขบูชาของโลก ( ลอย ชุนพงษ์ทอง, ๒๕๕๑ ) ซึ่งบางปีอาจไม่สอดคล้องกับระบบปฏิทินไทยในปัจจุบัน ดังเช่นใน พ.ศ. ๒๕๕๕, ๒๕๕๘, ๒๕๗๗ และ ๒๕๘๕ ที่ประเทศไทยจัดวันวิสาขบูชาในต้นเดือนมิถุนายน และมีแนวโน้มในอนาคต ว่า จ� ำนวนครั้งที่ไม่ตรงกันจะถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เขียนจึงเสนอการวางอธิกมาสใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ ข้อก� ำหนดข้างต้น วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ * ที่ปรึกษาการค� ำนวณปฏิทินหลวง ส� ำนักพระราชวัง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=