สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 160 ดินที่สูงหรือโครงการพืชทดแทนฝิ่นปฏิบัติโดยมูลนิธิโครงการหลวง ดินที่สูงนี้เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจัดการเพราะไม่มีผู้ใดท� ำ ดังพระราชด� ำรัส ตอนหนึ่งว่า “ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องท� ำงานแข่งกับเวลา แข่งทรัพยากรที่ก� ำลังถูกท� ำลายลงไปทุกวัน จึงพยายามรวบรวมผู้มีความรู้ ความสามารถ สาขาต่าง ๆ มาร่วมมือกันท� ำงานอาสาชิ้นนี้ให้บรรลุ ให้ได้ เพื่อให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลิกท� ำไร่เลื่อนลอย อันเป็นผลต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และต้นน�้ ำ ล� ำธารด้วย” ( สันทัด โรจนสุนทร, ๒๕๕๕ ) แต่ก่อนถือว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ภายใต้ความมั่นคง ยาเสพติด เคลื่อนย้ายอย่างเสรี ไม่มีถนน ใช้ล่อและลาขนส่ง มีการปลูกฝิ่นอย่างเปิดเผย เราเริ่มเข้าไปตั้งศูนย์พัฒนา ในที่ต่าง ๆ เริ่มจากอ่างขางเป็นจุดแรก เน้นการดูแลต้นน�้ ำล� ำธาร และป่าไม้ ช่วยชาวเขาให้ปลูกพืชราคาดี ช่วยเหลือในเรื่องวิธีการเพาะปลูก เน้นเรื่องการวิจัยและการพัฒนาเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างจิตส� ำนึก ในการดูแลรักษาป่าและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่ ๒ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นหนึ่งในโลก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด� ำเนินแปรพระราชฐานไปประทับที่พระต� ำหนัก ภูพิงคราชนิเวศน์ เมื่อเสด็จพระราชด� ำเนินใกล้ ๆ ทรงพบว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีโครงการทดลอง ปลูกไม้ผลทดแทนป่าที่ถูกท� ำลายไป ปรากฏว่าใช้วิธีที่เสียบตาต่อกิ่งจากท้อพันธุ์ดีบนท้อพื้นเมือง ได้ลูกท้อ ที่มีรสชาติดี อาจารย์ปวิณ ปุณศรี เป็นผู้ท� ำ และเป็นคนเดียวกันกับที่เคยน� ำเข้าองุ่นไทโอกา จากแคลิฟอร์เนีย เข้ามาประเทศไทย และให้ชาวนครไชยศรีปลูกเป็นพันธุ์แรกของเมืองไทย สิ่งที่เกิดขึ้นบนเขาก็คือ เมื่อเสด็จ พระราชด� ำเนินไปบ้านแม้ว ดอยปุย มีรับสั่งถามชาวแม้วว่าปลูกท้อเอาไปดองได้เงินเท่าไรและถ้าปลูกฝิ่น ได้เงินเท่าไร ปรากฏว่าไม่ต่างกันเท่าไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชด� ำริว่า ถ้าปลูกท้อพันธุ์ดี โดยวิธีต่อกิ่งก็จะได้ท้อขายได้ราคาดี (ในขณะนั้น) ถ้าใช้ท้อซึ่งถือว่าเป็นไม้ผล คือเป็นต้นไม้เป็นหลักในช่วง ประมาณ ๔-๕ ปี เพื่อรอให้ต้นไม้โตคงต้องใช้พืชทดแทนฝิ่นซึ่งได้แก่ ถั่วแดงหลวง มันอะลู (มันฝรั่ง) พืชสมุนไพร และไม้ดอก ในขณะนั้นบรรดาศูนย์ที่อยู่ใกล้กับตลาดเชียงใหม่เริ่มมีความก้าวหน้า ในการมีถนน และมีไฟฟ้า ท� ำให้มีห้องเย็นซึ่งท� ำให้สามารถเก็บของได้นานขึ้น และด้วยวิธีการปลูกพืชโดยใช้พลาสติกเฮาส์ ท� ำให้ดูแลเรื่องโรค แมลง และฝนได้ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันฟรอสต์ซึ่งเกิดมากในเขตหุบเขาซึ่งเป็นแหล่งเพาะ ปลูกของชาวเขา ผลิตผลในปัจจุบันจะมีความหลากหลายตั้งแต่ ผักกาดหอมห่อ แคร์รอต พริกหวาน เซเลอรี เยอบีรา หน้าวัว สะแตทิซ เบญจมาศ กีวีฟรุต ท้อ พลับ เสาวรส สตรอว์เบอร์รี ตลอดจนปลาเทราต์ กุ้งก้ามแดง และปลาสเตอร์เจียนที่ให้ไข่คาเวียร์ ที่ส� ำคัญก็คือการคืนเงินเกษตรกรชาวเขา ซึ่งการคืนเงินด้วยผักจะมี สูงที่สุด นี่เป็นการขาดทุนที่เป็นก� ำไรที่งดงามที่สุด เพราะการคืนเงินและชีวิตที่ดีขึ้นเป็นค� ำตอบที่ส� ำคัญมาก ส� ำหรับชาวเขา โดยเฉพาะในแง่ของการดูแลรักษาป่าแทนพวกเรา ทั้งนี้เพราะเขาอยู่ที่นั่นตลอดเวลา จึงดูแล รักษาป่าได้ดีกว่าเรา สิ่งที่เรายอมรับก็คือการที่พระองค์รับสั่งว่า “เมื่อเข้าไปในบริเวณที่ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ ดินโลก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=