สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 159 ดังนั้น ภูพานจึงเป็นศูนย์พัฒนาที่เป็นแบบจ� ำลองของภาคอีสาน และเป็นพื้นที่ส่วนย่อ ที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาและศึกษาวิธีการพัฒนาของภูมิภาคนี้ ๒. ภาคใต้ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้เป็นตัวแทนของการพัฒนาดินพรุที่เป็นดินเปรี้ยวจัด ที่จังหวัด นราธิวาส เป็นที่ลุ่มต�่ ำ เป็นดินพรุ เกษตรกรส่วนมากไม่มีที่ท� ำกิน แต่เมื่อระบายน�้ ำออกหมดกลับเป็นดิน เปรี้ยวอย่างรุนแรง เพราะดินมีสารประกอบไพไรต์อยู่ประมาณ ๑ เมตร ในดินล่าง เมื่อแห้งจะเกิดกรด ก� ำมะถันซึ่งท� ำให้เป็นดินเปรี้ยวอย่างรุนแรง (PH = ๒-๓) โครงการนี้เป็นที่มาของ “โครงการแกล้งดิน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเป็นองค์รวม และคนต่างหากที่ต้องการปลูกข้าว ดังนั้น พระองค์จึงแกล้งดินหรือล้อดินเล่นให้เปรี้ยวที่สุด ปลูกอะไรก็ตาย ต่อจากนั้นจึงลองให้ดินหายเปรี้ยวโดยการ ระบายน�้ ำสลับกันไป ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ ซึ่งเป็นผู้ด� ำเนินการนี้บอกว่า ต้องใช้เวลา ๓-๔ ปี ถึงจะท� ำส� ำเร็จ ซึ่งก็ท� ำให้มีคู่มือให้เกษตรกรได้ การท� ำให้หายเปรี้ยวและปลูกพืชได้และสามารถท� ำได้จนได้ข้าวถึง ๓๐ ถัง ต่อไร่ ซึ่งถือว่ามีความส� ำเร็จระดับหนึ่ง เรื่องนี้ได้มีการรายงานในที่ประชุมใหญ่ของการประชุมดินโลก ที่ประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๐๒) ท� ำให้ความส� ำเร็จอันนี้ขจรขจายไปทั่วโลก สิ่งที่พระองค์ ทรงพบอยู่อย่างหนึ่งที่ส� ำคัญก็คือ ถ้าดินเลนอยู่ในสภาพน�้ ำท่วมอยู่เสมอจะไม่มีปฏิกิริยาของกรดก� ำมะถัน และพระองค์มีพระราชประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะรักษาระดับน�้ ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นไพไรต์อยู่เสมอ จึงจะไม่มี ปฏิกิริยาของกรดก� ำมะถันอีกต่อไปส� ำหรับภาคใต้ เมื่อมีรับสั่งว่าการสร้างเขื่อนกั้นแม่น�้ ำบางนราจะท� ำให้ สามารถควบคุมน�้ ำได้ และดร.เอสวารันได้กล่าวว่าพระองค์มองเป็นองค์รวมซึ่งเป็นระบบนิเวศมากกว่า การรักษาระดับน�้ ำใต้ดิน ซึ่งเป็นเรื่องของชลประทานท� ำให้แก้เรื่องนี้ได้ส� ำเร็จและเป็นโครงการที่เป็น หนึ่งเดียวในโลก ( สันทัด โรจนสุนทร และคณะ, ๒๕๕๕ ) สิ่งที่เกิดขึ้นในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็นเรื่องที่เห็นเป็นรูปธรรม ว่าพระองค์มีความมุ่งมั่น อย่างจริงจัง โดยพยายามใช้กระบวนการที่ง่าย ๆ ชาวบ้านสามารถท� ำได้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว และ การใช้ปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินดีขึ้น การมีความชุ่มชื้นเป็นสิ่งส� ำคัญที่ไม่มีใครมองถึงว่าเป็นสิ่งส� ำคัญที่พืช จะงอกได้ และดินจะเป็นดินได้ถ้ามีน�้ ำ ความสัมพันธ์อันนี้คนส่วนใหญ่มองข้ามไป เมื่อมี ดิน จะต้องมี น�้ ำ และป่าไม้ จะช่วยให้ความชุ่มชื้นคงอยู่ ถ้า คน รู้จักใช้ให้เป็น จะไม่มีการเสื่อมถอยอย่างแน่นอน แต่คน กลายเป็นตัวให้สมดุลเหล่านี้เสียไป สมดุลนี้เกิดขึ้นได้เมื่อไม่มีตัวแปรที่สูงหรือต�่ ำไป ท� ำให้เสียสมดุลได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความยั่งยืน และจะยั่งยืนได้จะต้อง รู้จักพอ หรือความพอเพียงนั่นเอง สันทัด โรจนสุนทร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=