สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 158 ต้องรวมกันท� ำงานบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเรื่องนี้รัฐบาลอาจจะต้องช่วยจนกระทั่ง เขามีรายได้มากขึ้น ถ้าทิ้งไว้เขาจะจนลงทุกปี” การปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรมจึงเป็นสิ่งที่จ� ำเป็นเพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชได้ผลคุ้มกับการลงทุน มีการวางระบบอนุรักษ์ดินและน�้ ำ สร้างฝายกั้นน�้ ำตามล� ำห้วยหรือร่องน�้ ำต่าง ๆ เป็นจ� ำนวน ๒๐๐ ชุด เพื่อให้มีน�้ ำเก็บกักทั่วไปในพื้นที่ ใช้แนวถนนเป็นแนวคันดินของการไหลบ่าของน�้ ำเพื่อลดการกัดกร่อนของ ดิน มีการปลูกแฝกตามล� ำห้วยริมฝายกั้นน�้ ำและขอบอ่าง ปลูกแฝกควบคู่ไปกับไม้โตเร็วในพื้นที่ที่เป็นดินดาน สาธิตการปรับปรุงบ� ำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสด ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการปลูกถั่ว เพื่อช่วยในการบ� ำรุงดิน ๑. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ ศูนย์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีความส� ำคัญเพราะเป็นพื้นที่ใหญ่สุดของ ประเทศมีประมาณ ๑๐๖ ล้านไร่ หรือร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่ในประเทศ มีลักษณะของภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มักประสบกับภาวะแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นประจ� ำ ประกอบกับทรัพยากรดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังหรือ ดินร่วนปนทรายและอุ้มน�้ ำได้น้อย ท� ำให้มีอัตราการระเหยและการซึมของน�้ ำในดินสูง มักจะมีการขาดน�้ ำ รุนแรงท� ำให้ผลผลิตต�่ ำ และมีความแปรปรวนสูง บางปีแล้งจัด บางปีน�้ ำท่วม ท� ำให้เกษตรกรที่ใช้น�้ ำฝน มีปัญหามาก ราษฎรมีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับภาคอื่น พระราชด� ำริซึ่งพระราชทานแก่ส� ำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ (ส� ำนักงาน กปร.) มีความว่า “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อยู่ที่อ� ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เดิมเป็นป่าโปร่งคนไปตัดไม้ท� ำฟืนและ ใช้พื้นที่ท� ำกสิกรรม ป่าไม้เองถูกท� ำลายไปมากจึงไม่มีน�้ ำในหน้าแล้ง น�้ ำไหลแรงในหน้าฝน ท� ำให้มีการ ชะล้างหน้าดินบางลงและเกลือซึ่งมีสะสมอยู่ข้างล่างจะขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ และทรงวิเคราะห์ข้อมูลว่า เป็นดินทรายกับดินเค็มขาดน�้ ำดังนั้นเหมือนกับศูนย์พัฒนาอื่น ๆ การพัฒนาแหล่งน�้ ำจึงเป็นเรื่องส� ำคัญ สร้างอ่างเก็บน�้ ำขนาดใหญ่ ๔ แห่งและฝายชะลอน�้ ำ (check dam) อีกประมาณ ๖๕ แห่ง ดินส่วนใหญ่ ในศูนย์เป็นดินดานมีชั้นหินอยู่ในระดับความลึกน้อยกว่า ๕๐ ซม. การฟื้นฟูป่าไม้จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม และเป็นการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน�้ ำล� ำธาร ปลูกป่าทดแทน บ� ำรุงรักษาป่าธรรมชาติ” ( สันทัด โรจนสุนทร และคณะ, ๒๕๕๕ ) เมื่อมีน�้ ำดี ป่าดี จึงเริ่มพัฒนาดิน พบว่าดินขาดความอุดุมสมบูรณ์และกัดกร่อนหน้าดินสูง วิธีการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้คือ การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็นพืชหมุนเวียน และใช้เป็น ปุ๋ยพืชสด ตลอดจนการเพาะปลูกหญ้าแฝกตามร่องห้วย ร่องหินและที่ลาดชัน เพื่อป้องกันการกัดกร่อน ของดิน ปลูกพืชบนดินลูกรังในระบบไร่นาผสมผสาน โดยมีพระราชด� ำริให้ใช้วิธีการกระทุ้งชั้นดินลูกรัง ให้แตก และน� ำดินข้างล่างมาผสมแล้วไถกลบ ส่วนที่เป็นดินเค็มนั้นก็ใช้พืชที่ทนเค็มปลูก ดินโลก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=