สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 157 ๔. ภาคกลาง (ฝั่งตะวันตก) : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ ผืนป่าห้วยทรายอยู่ที่อ� ำเภอชะอ� ำ จังหวัดเพชรบุรี เดิมเป็นป่าอุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่าจ� ำนวน มากที่อาศัยอยู่โดยเฉพาะ “เนื้อทราย” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อผืนป่าแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงประกาศให้ผืนป่าห้วยทรายเป็น เขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และห้ามท� ำอันตรายสัตว์ในพื้นที่ห้วยทราย หลังจากนั้นไม่นาน ราษฎร ได้บุกรุกเข้ามาท� ำมาหากินแผ้วถางป่าท� ำการเกษตรเชิงเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลูกสับปะรดต่อเนื่องกัน จนท� ำให้ผืนป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์เสื่อมลงอย่างสิ้นเชิง ผนวกกับการชะล้างหน้าดินอย่างรุนแรง เกิดการ เสื่อมโทรมเป็นทวีคูณ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด� ำเนินแปรพระราชฐานไปประทับที่ วังไกลกังวลเป็นประจ� ำแทบทุกปี และทรงทราบปัญหาเกี่ยวกับดินในบริเวณหัวหินและพื้นที่ใกล้เคียงเป็น ประจ� ำ ซึ่งเป็นที่มาของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด� ำริหลายพันโครงการ และประกาศตั้งศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ โดยพระราชทานเอกสารแก่ส� ำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ (ส� ำนักงาน กปร.) ความว่าศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทราย “ดินทราย แร่ธาตุน้อย มีดินดาน” และพระราชทานค� ำอธิบายว่า “ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทรายเดิมเป็นป่าโปร่งคนไปตัดต้นไม้เป็นฟืนส� ำหรับเผาถ่าน ต่อจากนั้นมีการปลูกพืชไร่และสับปะรด จนดินจืดกลายเป็นทรายถูกลมและน�้ ำชะล้างไปหมดจนเหลือแต่ดินดานซึ่งเป็นดินที่แข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ดินขาดแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์และหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด” ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายมีพื้นที่ ๔๒,๒๔๐ ไร่ อยู่ในเขตอับฝน (ฝนตกเฉลี่ย ๖๐๐ มิลลิเมตรต่อปี) สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายตอนบนดินดอน ตอนล่างเป็นดินดานหรืออาจพบชั้นหิน ซึ่งเป็นหินอัคนีหรือพบชั้นดินลูกรังที่จับตัวกันแน่นเป็นแผ่นศิลาแลง พระองค์รับสั่งว่าเป็นแม่รัง ดินมีความ อุดมสมบูรณ์ต�่ ำ หลายพื้นที่มีปัญหาเรื่องการกร่อนของหน้าดิน และบางบริเวณคล้ายแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ ด้วยเป็นเขตอับฝน การพัฒนาแหล่งน�้ ำเป็นเรื่องหลักในระยะต้น มีพระราชด� ำริให้จัดท� ำขึ้นคือสร้างอ่างเก็บน�้ ำใหญ่ ๔ แห่ง และขุดลอกล� ำห้วยต่าง ๆ จากนั้นได้มีพระราชด� ำริ โดยอาศัยหลักการทางธรรมชาติที่แยบยลเรียบ ง่ายและประหยัดแต่ได้ผล “คือทิ้งป่านั้นไว้ ๕ ปีตรงนั้นไม่ตัดไม่ท� ำอะไรเลยป่าเจริญเติบโตเป็นป่า อุดมสมบูรณ์โดยไม่ต้องปลูกสักต้นเดียวนี่คือการปลูกป่านั้นส� ำคัญอยู่ที่ปล่อยให้เขาขึ้นเอง การอนุรักษ์ พันธุ์สัตว์ป่าให้เร่งขยายพันธุ์สัตว์ป่าโดยเฉพาะเนื้อทรายซึ่งเป็นสัตว์พื้นเมืองดั้งเดิมให้สามารถน� ำไป ปล่อยให้ใช้ชีวิตกลับคืนสู่สภาพป่าดั้งเดิมต่อไป” “เนื่องจากมีราษฎรบุกรุกเข้าไปท� ำมาหากินมาก ถ้าให้เขาออกไปก็ไปบุกรุกที่อื่นอีก จึงสมควรให้เขาอยู่ที่เดิมจัดระเบียบเสียใหม่ให้เขามีความรู้ขึ้น แล้วแต่เขาถนัดปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ สันทัด โรจนสุนทร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=