สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 156 พื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ ไร่ ได้รับการฟื้นฟู ปรับปรุง และพัฒนากลับมาเป็นพื้นที่สีเขียว ประกอบด้วยพื้นที่ปลูกป่าทดแทน พื้นที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล พืชผักและแปลงสาธิตการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตลอดจนมีอ่างเก็บน�้ ำเพิ่มขึ้นมาอีกเป็นจ� ำนวน ๙ แห่ง ยิ่งไปกว่านั้น มีการปลูกแฝกบริเวณขอบอ่างและพื้นที่ ลาดชันเพื่อป้องกันการกร่อนของดิน คิดเป็นระยะทางของแนวแฝกไม่น้อยกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร ท� ำให้พื้นที่ เขาหินซ้อนกลับมาอุดมสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ มีพระราชด� ำรัสว่า “ที่เขาหินซ้อน หลายฝ่ายช่วยกันใช้เวลา ๑๕ ปี ที่นี้ จึงเป็นแม่แบบช่วยชาวบ้านได้ ที่อื่นเลยท� ำง่ายขึ้น ต้องอดทน แล้วเป็นไงก็ได้ประโยชน์ ชาวบ้านมีความสุขเราก็สุข ที่นี้ปลูกมันส� ำปะหลังยังไม่ขึ้นเลยเดี๋ยวนี้ดีขึ้น แต่ก็เย็นสบายดีเปลี่ยนแปลงไปมาก” ( กรมพัฒนาที่ดิน, ๒๕๖๐ ) ในเอกสารที่พระองค์พระราชทานแก่ส� ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ (กปร.) ของดินที่ศูนย์การพัฒนาเขาหินซ้อน อ� ำเภอพนมสารคาม ทรงขอไว้อย่าง ผู้รู้ในการวิเคราะห์อย่างแท้จริง คือ “ที่ดินที่อยู่ในร่องห้วยมีคุณภาพพอใช้ได้ ไม่มีปัญหามากนัก ใช้ปุ๋ย ตามปรกติ ที่บนเนินปรากฏว่าเป็นทรายจัด ดินดานและหิน ต้องปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับเพื่อยึดดิน และให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ ดินทรายมีแร่ธาตุน้อย ที่ไม่ปลูกหญ้าแฝกถูกชะล้างเมื่อฝนตก ปลูกต้นไม้ นานาชนิดเพื่อรักษาความชื้น (ก่อนนั้นได้สร้างเขื่อนกั้นห้วยเจ๊กซึ่งมีน�้ ำซับ) ต่อจากนั้นได้สร้างอ่าง เก็บน�้ ำเพิ่ม ซึ่งอยู่นอกเขตคืออ่างห้วยส� ำโรงเหนือและอ่างห้วยส� ำโรงใต้” พระราชด� ำรัสข้างต้น นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและความใส่พระราช- หฤทัยแล้ว ยังเป็นพระราชด� ำรัสที่เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ก่อนความส� ำเร็จในการพัฒนาและ ปรับปรุงดินของพระองค์ที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวโลกแล้ว ยังทรงอยู่ในหัวใจของนักวิชาการด้านดิน ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติงานถวาย ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าพระองค์คือพระบิดาแห่งดินอย่างแท้จริง ๓. ภาคกลาง (ริมฝั่งทะเล) : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ ที่นี่เป็นแหล่งก� ำเนิดของสัตว์น�้ ำทะเลแทบจะทุกประเภท ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ป่าชายเลนมีกุ้ง หอยปูปลาและสิ่งที่มีชีวิตในทะเล พื้นที่ของศูนย์ฯ นี้อยู่อ� ำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เมื่อป่าโกงกาง ถูกท� ำลายไป จะท� ำให้จ� ำนวนปลาที่จับได้ลดลงมาก และยังท� ำให้น�้ ำทะเลเข้าไปถึงบริเวณเกษตรกรรม ซึ่งอยู่ใกล้ชายฝั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบว่าพื้นที่ชายฝั่งคือดินเพื่อชีวิต ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบนฯ ท� ำการศึกษาโดยเน้นการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเป็นหลักส� ำคัญ ศึกษาปัญหาและเน้น การสร้างกลับคืนของพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งมีความส� ำคัญมากกับชีวิตสัตว์และพืชในบริเวณป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จึงเป็นตัวแทนของการดูแลป่าชายเลนทุกบริเวณ อาชีพของ ชาวประมงจึงขึ้นอยู่กับจ� ำนวนของกุ้งหอยปูปลาที่จับได้ ทรงพบว่าเมื่อป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง ถูกท� ำลายไป จ� ำนวนปลาในทะเลที่จับได้ลดลงมาก ดินโลก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=