สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 155 ๒. ท� ำการฟื้นฟูดิน ซึ่งส่วนมากเป็นหิน กรวด ทราย และดินลูกรัง ให้สามารถท� ำเป็น ทุ่งหญ้าส� ำหรับปศุสัตว์บ้าง ปลูกพืชไร่บ้าง พืชสวนบ้าง ๓. ที่ใกล้อ่างเก็บน�้ ำห้วยฮ่องไคร้ ให้ท� ำนาข้าว ๔. ที่ในอ่างเก็บน�้ ำห้วยฮ่องไคร้ ให้เลี้ยงปลา โดยตั้งเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ การประมวล ข้อมูลหลังจากด� ำเนินการประมาณ ๕ ปี ก็เริ่มเห็นผลของการปฏิบัติ หลังจาก ๑๐ ปี ก็ได้เห็นผลของการ ปฏิบัติชัดยิ่งขึ้น การอนุรักษ์ดินโดยใช้น�้ ำ และหญ้าแฝกควบคู่กัน จะสามารถท� ำให้พื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์ เต็มที่ จากพระราชด� ำริที่พระราชทาน ได้น� ำไปปฏิบัติจนสามารถท� ำให้เป็นพื้นที่เขียวชอุ่ม มีแหล่งน�้ ำ สมบูรณ์ พื้นที่ในหุบเขาที่มีความลาดชันไม่มากนัก (น้อยกว่าร้อยละ ๑๐) ได้พัฒนาให้เป็นที่ปลูกพืชเกษตร ในรูปต่าง ๆ เช่น วนเกษตร พืชผัก อาหารสัตว์ สวนสมุนไพร แต่เนื่องจากพื้นที่เป็นแหล่งที่มีการชะล้าง พังทลายของดิน จึงควรให้อินทรียวัตถุในรูปต่าง ๆ รวมทั้งปลูกพืชตระกูลถั่วสลับ ตลอดจนมีการปลูกแฝก เป็นแนวขวางความลาดชันในพื้นที่ที่ท� ำการเกษตรทั้งหมด ๒. ภาคกลาง (ฝั่งตะวันออก) : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ ที่นี่มีดินเสื่อมโทรมที่ปลูกมันส� ำปะหลังมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ท� ำให้ดินมีลักษณะเป็น ดินทราย ปลูกพืชไม่ค่อยขึ้น ราษฎรจึงน� ำมาน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เพื่อหวังว่าพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จะทรงช่วยพัฒนา ซึ่งมีพระราชด� ำรัสว่า หากจะสร้างสถานที่ศึกษาทางการเกษตรจะเอาไหม ราษฎรตอบตกลง จึงมีพระราชกระแสว่า “ถ้าบอกว่าดินไม่ดี ไม่ช่วย ไม่ท� ำ ส� ำหรับประเทศไทยทั่วประเทศ จะกลายเป็นทะเลทรายหมด” ( สันทัด โรจนสุนทร และคณะ, ๒๕๕๕ ) การปรับปรุงฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมในที่นี้จึงเกิดขึ้นในเอกสารที่พระราชทานแก่ส� ำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด� ำริ (ส� ำนักงาน กปร.) ทรงบันทึกว่า “เป็นดินทรายมีแร่ธาตุน้อย ในร่องห้วยพอใช้ได้แต่ในที่ดอนจะเป็นทราย ดินดานและหิน ต้องปลูก หญ้าแฝกตามแนวระดับเพื่อยึดดินและให้เติมปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกต้นไม้นานาชนิดเพื่อยึดดินเมื่อมีฝน และรักษาความชุ่มชื้น” ( สันทัด โรจนสุนทร และคณะ, ๒๕๕๕ ) ก่อนจะท� ำสิ่งใดพระองค์ทรงแนะน� ำให้หาแหล่งน�้ ำ ก่อนอื่นได้สร้างเขื่อนกั้นน�้ ำห้วยเจ๊ก ซึ่ง มีน�้ ำซับตอนนั้น สร้างอ่างห้วยส� ำโรงเหนือและห้วยส� ำโรงใต้ เริ่มพัฒนาที่ดินโดยมีพระราชด� ำรัสว่า “เมื่อพัฒนาน�้ ำขึ้นมาบ้างแล้วก็เริ่มปลูกพืชไร่และเลี้ยงปลาในที่ลุ่ม ส่วนที่อยู่บนเนินเลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกหญ้าและต้นไม้ซึ่งจะท� ำให้ดินมีคุณภาพดีขึ้น กรรมวิธีอาจจะใช้เวลานานจะสามารถเปลี่ยนจาก กระบวนการที่ไปทางเสื่อมมาเป็นการพัฒนาให้เป็นพื้นที่สมบูรณ์” สันทัด โรจนสุนทร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=