สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 149 อาหารอยู่กับเราตั้งแต่เกิดจนตาย และเมื่อขาดอาหารถึงไม่ตายแต่ก็เลี้ยงไม่โต อันที่จริง พลังอาหารเป็นผู้ก� ำหนดชะตากรรมของทุกชีวิต จะท� ำให้ทุกคนอยู่ได้ด้วยความมีชีวิตชีวา มีพัฒนาการ มีความสุข มีความหวัง มีโอกาส ท� ำให้ชีวิตมีคุณค่า และยืนยาว ดังนั้น ชีวิตที่มีกิน คือ สิ่งที่ทุกคนแสวงหา นายธนินท์ เจียรวนนท์ (พ.ศ. ๒๕๕๖) กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า ผลิตผลทางการเกษตรเปรียบเสมือนน�้ ำมัน บนดิน และมีความส� ำคัญยิ่งกว่าน�้ ำมัน เพราะอาหารเป็นแหล่งพลังงานของมนุษย์ ใช้เลี้ยงคนทั้งโลก ในเมื่อ น�้ ำมันเป็นเพียงแหล่งพลังงานของเครื่องจักร ถ้ามนุษย์ไม่ได้ท� ำเครื่องจักรขึ้นมาใช้งาน น�้ ำมันจะไม่มี ความหมาย นายธนินท์ เจียรวนนท์ ย�้ ำอีกว่า ท� ำไมจึงมัวไปกดราคาสินค้าเกษตร นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ถูกต้อง และหลายประเทศไม่เข้าใจจุดนี้ ควรจะมีการปรับราคาให้สูงขึ้นให้คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะเมื่อ เกษตรกรมีก� ำไรแล้วก็จะสามารถพัฒนาตนเองได้จนถึงขั้นเป็น นักเกษตรแผนใหม่ และเช่นกันว่า “โรคภัย ทั้งหลายเป็นผลมาจากการกินอาหาร” ถ้าประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ประเทศก็จะประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านการสาธารณสุข ถ้ามีการควบคุมความปลอดภัยของอาหารอย่างเข้มงวดแล้ว ก็ไม่จ� ำเป็นจะต้องมี โรงพยาบาลมากมาย หรือต้องเสียเงินจ� ำนวนมหาศาลไปกับการรักษาพยาบาล โดยได้ให้ข้อสรุปไว้อย่าง น่าฟังว่า เกษตรสมัยใหม่คือทางออกทางเดียวของประเทศจีนในเรื่องอาหาร ถ้ารวมจ� ำนวนประชากร ของจีน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ จ� ำนวน ๑,๓๔๐ ล้านคน และอินเดียจ� ำนวน ๑,๒๑๐ ล้านคน เป็นจ� ำนวนที่ น่าสะพรึงกลัวยิ่ง นั่นคือ ๒,๕๕๐ ล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก เมื่อคิดถึงปากท้องที่จะต้อง แสวงหาอาหารเป็นตัวเลขที่น่าวิตกทีเดียว ดังนั้น ภาวะไม่มีกินจะเกิดภาวะขาดอาหาร หิวโหย อดอยาก และแย่งชิงอาหาร ความมีกิน คือ ความปลอดภัย มีคุณภาพ ความมีกิน มีความหมายกว้างขวางมาก แต่จะถูกก� ำหนดโดยตัวเลือกที่จะท� ำให้เกิดความ พอเหมาะ พอดี ขึ้นมาจากรากฐานที่เป็นความรู้ทางวิชาการที่เรียกว่า โภชนาการ ซึ่งหมายถึง อาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายเราสามารถน� ำเอาสารอาหารนั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโต สร้างพลังงาน สร้างปัญญา ซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ที่ช� ำรุดทรุดโทรมให้กลับเป็นปรกติ การเรียนรู้โภชนาการ จะบอกเราว่า “แค่ไหนเหมาะสมที่จะท� ำให้ร่างกายท� ำงานได้เป็นปรกติ และแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค ปรับตัวได้ตามสภาวะแวดล้อม ต่อสู้เชื้อโรคที่จะมาเบียดเบียนได้” แปลว่า เราต้องกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และน�้ ำ นอกจากจะรู้ว่าเป็นประโยชน์ เพียงใด อย่างไรแล้ว ก็ควรจะรู้ด้วยว่ามีความปลอดภัยเพียงใดในการบริโภค นั่นคือ ความปลอดภัยของ อาหารเกี่ยวโยงกับสุขภาพ ตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ซึ่งเกิดจากอาหารที่ไม่ปลอดภัย สันทัด โรจนสุนทร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=