สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 147 ๑ เมตร ท� ำให้เกิดเป็นกรดก� ำมะถันรุนแรง การมีเขื่อนที่บางนราจึงมีประโยชน์ ๒ อย่าง คือ กั้นน�้ ำทะเลและ ท� ำให้ไม่เกิดดินเปรี้ยวจัดแบบที่เกิดจากการออกซิไดส์ของกรดก� ำมะถัน การแก้ไขดินเปรี้ยวของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นหนึ่งเดียวในโลกในเรื่องนี้ การแก้ไขดินเปรี้ยวด้วยวิธีการแก้ไขโดยให้น�้ ำท่วม ชั้นไพไรต์ไว้จึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง และเป็นการแก้ที่ต้นตออย่างแท้จริง ถ้ามองระบบนิเวศเป็นหลักใหญ่ ๒. ดินที่สูง หรือ “โครงการพืชทดแทนฝิ่น” โครงการหลวงอีกโครงการหนึ่งที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก ใช้เวลาถึง ๕๐ กว่าปี จึงส� ำเร็จ เพราะ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดของคนหรือภูมิสังคม คือ ชาวเขา โครงการเกี่ยวข้องกับมูลนิธิโครงการหลวง เป็นการ ทรงงานบนที่สูง ซึ่งเริ่มต้นด้วยกิจกรรมเล็ก ๆ ตามที่เสด็จพระราชด� ำเนินไปทรงเยี่ยมชาวเขาในบริเวณต่าง ๆ ทรงเก็บข้อมูลด้วยพระองค์เอง เปรียบเสมือนการประพาสต้นบนดอย ตามที่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงนิพนธ์เอาไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบูรณาการข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันท� ำให้เกิดโครงการ ที่ไม่เคยมีใครท� ำมาก่อนเลยในโลก และมีความส� ำคัญมาก ข้อมูล ๔ ประการ ที่ทรงใช้ในการตัดสิน พระราชหฤทัย คือ ๑. ทรงทราบว่าชาวเขาได้รับเงินจากการขายฝิ่น ไม่ได้มากไปกว่าการขายท้อพื้นเมืองดิบที่ น� ำไปใช้ดองเท่าไรนัก ๒. ทรงทราบว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทดลองใช้ท้อพันธุ์ดีเสียบบนท้อพื้นเมือง ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งน่าจะมาทดลองน� ำไปขายข้างล่างได้ราคา (ในขณะนั้น) ๓. หากให้ชาวเขาปลูกท้อซึ่งเสมือนป่ากินได้ จะท� ำให้ชาวเขาไม่เคลื่อนย้ายหักล้างถางพง เพราะมีผลผลิตเป็นประจ� ำทุกปี ซึ่งจะไม่เป็นการท� ำลายดินและท� ำลายป่า และยังมีอาชีพที่ถาวรอีกด้วย ปัญหาของการพังทลายของดินบนที่สูงมีอยู่มากและทั่วไป หากปล่อยให้ชาวเขาท� ำไร่เลื่อนลอยอยู่ ๔. การตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในพื้นที่ทุรกันดาร และมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจ� ำเพื่อ ช่วยเหลือและแนะน� ำชาวเขา เป็นนวัตกรรมที่ส� ำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อขณะนั้นที่สูงภาคเหนือยังมี ปัญหาความมั่นคงอยู่มาก หลังจากการก่อตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ และเป็นการก่อตั้งโครงการปลูกพืชทดแทน ฝิ่นที่ส� ำเร็จในโลก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นผู้น� ำในการปฏิบัติ ต่อมา ได้เปลี่ยนเป็นมูลนิธิโครงการหลวง ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ปัจจุบันมีศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอยู่ ๓๘ แห่ง ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ล� ำพูน และแม่ฮ่องสอน และมีสินค้าจ� ำหน่ายโดยโครงการหลวง และดอยค� ำ เป็นตัวอย่างที่ส� ำคัญเกี่ยวกับ “ขาดทุนคือก� ำไร” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สันทัด โรจนสุนทร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=