สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 146 ดินมีปัญหาที่พระองค์มีรับสั่งครั้งนั้น หมายถึง ดินเสื่อมโทรม ทุกรูปแบบโดย คน ที่ดินใน ประเทศไทยมีอยู่ประมาณ ๗๐ ล้านไร่ มีการปลูกพืชซ�้ ำ ๆ กัน ท� ำให้ดินเสื่อมโทรมเพราะการปลูก เช่น ปลูกมันส� ำปะหลัง และปลูกสับปะรด ซ�้ ำ ๆ กัน (เช่นที่เขาหินซ้อนและห้วยทราย) ทั้งนี้ล้วนแต่มีตัวอย่างใน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง ๖ แห่ง ส่วนนาข้าว ถึงแม้จะมีเลนตมจากของเดิม ปัจจุบันก็จะต้องใส่ปุ๋ยแล้ว หรือถ้าเป็นชาวเขาก็คือการท� ำไร่ เลื่อนลอย หักล้างถางพง เพื่อปลูกฝิ่ น เมื่อดินจืดก็ย้ายไปที่อื่น และถางพงใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวพระราชด� ำริเกี่ยวกับดิน เพราะเป็นปัญหาส� ำคัญ ประการหนึ่งส� ำหรับการท� ำมาหาเลี้ยงชีพของพสกนิกร ดินเสื่อมโทรมมีหลายรูปแบบและมีอยู่ทั่วไป ทั้งประเทศ เพราะเมื่อมีคนเข้าไปเกี่ยวข้องจะท� ำให้ดินเสื่อมโทรม ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด� ำริอันเป็นส่วนส� ำคัญยิ่งที่ท� ำให้เกิดวันดินโลก คือ เรื่องการแก้ไขดินเปรี้ยวหรือ “โครงการแกล้งดิน” และเรื่องดินที่สูง หรือ “โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่น” ทางภาคเหนือ ๑. การแก้ไขดินเปรี้ยว หรือ โครงการแกล้งดิน เป็นโครงการแก้ไขปัญหาดินที่เป็นโครงการหนึ่งเดียวในโลกเพราะไม่มีใครท� ำได้ เริ่มต้นด้วย โครงการ แกล้งดิน พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔) พระองค์รับสั่งว่า แกล้งเหมือนล้อดินเล่น โดยท� ำให้เปรี้ยว ที่สุด ปลูกพืชไม่ขึ้นแล้วจึงแก้ไขให้มันหายเปรี้ยว ปลูกข้าวได้ ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งมีความ เข้าใจดีแต่ก็มีปัญหาพอสมควร ใช้วิธีสูบน�้ ำเข้าแล้วปล่อยให้แห้งท� ำให้เกิดกรดซัลฟิวริกเต็มที่ (pH ๒-๓) ท� ำอยู่ประมาณ ๔-๕ ปี จึงสัมฤทธิ์ผล คือตอนแรกปลูกข้าวไม่ได้ และต้องการล้างกรดซัลฟิวริกออกหลายครั้ง จึงปลูกข้าวได้ ที่จริงกระบวนการนี้คือวิศวกรรมย้อนรอยนั่นเอง ดร.พิสุทธิ์ วิจารสรณ์ ท� ำให้สามารถ ปลูกข้าวได้ ๓๐ ถังต่อไร่ นอกจากนั้นยังได้รายงานในการประชุมดินโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒) ซึ่งมีขึ้นในประเทศไทยในขณะนั้น และเป็นต้นก� ำเนิดของการขอวันที่ ๕ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวัน พระราชสมภพให้เป็นวันดินโลก ดร.แฮรี่ เอสวอรัน ผู้เชี่ยวชาญ USDA เป็นคนยืนยันเรื่องนี้ว่าเป็น หนึ่งเดียวในโลก และอ้างถึงวิธีแก้ไขซึ่งใช้ระบบนิเวศเป็นหลักใหญ่ในการแก้ไข ในส่วนของการแก้ไขดินเปรี้ยวซึ่งเกิดขึ้นแล้วในโพรไฟล์ของดิน จะต้องใช้น�้ ำเป็นตัวสลาย ความเปรี้ยว โดยชะล้างหลายครั้งจนความเปรี้ยวหมดไป หลังจากที่ท� ำให้เปรี้ยวถึงที่สุด คือ ปลูกพืช (ข้าว) ไม่ขึ้น หากมีการตรวจโดยวัด pH (pH = ๒-๓) อันที่จริงพระองค์มีรับสั่งกับ ดร.นอร์แมนและผู้เขียนว่า ต้องการพื้นที่เชิงพรุไม่มากเพียงให้ชาวบ้านสามารถปลูกข้าวได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีการไล่น�้ ำออกจากพรุ หลายแสนไร่จึงเกิดการแห้งขึ้น ท� ำให้เกิดการออกซิไดส์ของชั้นสารประกอบก� ำมะถันซึ่งอยู่ข้างล่างประมาณ ดินโลก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=