สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 144 เป็นส่วนส� ำคัญในการรักษาความชุ่มชื้นให้คงอยู่ในดิน ปรกติเราจะยอมรับว่าเราควรมีป่าไม้ประมาณร้อยละ ๔๐-๕๐ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้คงอยู่ตลอดไป คน เป็นสิ่งที่มาหลังสุด และเอาเปรียบที่สุด ฉลาดใช้ แต่ไม่ฉลาดแก้ไข เมื่อคนเข้ามาจะท� ำให้ธรรมชาติเปลี่ยนไป และท� ำให้เกิดความไม่พอเพียงขึ้น คนเข้ามา ท� ำมาหากินเปลี่ยนสมดุลของธรรมชาติท� ำให้เกิดความไม่พอดีขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขพอสมควร เมื่อคนเป็นประชากรของพระองค์ พระองค์จึงต้องทรงตามแก้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่รู้จบ ทางประเทศไทยในขณะนั้น ผู้เขียนพยายามน� ำเรื่องดินโลกเสนอคณะรัฐมนตรีโดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) แต่ส� ำนักองคมนตรีไม่เห็นด้วย จึงต้องระงับ เรื่องไว้อีกครั้งหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐) มีการประชุมดินโลกที่กรุงบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ผู้เขียนในฐานะนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ดินโลก จึงขอให้ ศาสตราจารย์ ดร.เอิบ เขียวรื่นรมณ์ อดีตรองประธานสมาพันธ์ดินโลกเข้าร่วมประชุมด้วย และขอให้ สมาพันธ์พิจารณาเรื่องวันดินโลกอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้สมาพันธ์ดินโลกพิจารณาว่าพระราชกรณียกิจนี้ส� ำคัญ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีผลงานเรื่องดินอย่างแท้จริง จึงมีมติให้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเหรียญของสมาพันธ์เป็นครั้งแรกและครั้งเดียว พร้อมทั้งถวายพระราชสมัญญาว่า “นักวิทยาศาสตร์ ดินเพื่อมนุษยธรรม” รวมทั้งขอให้วันที่ ๕ ธันวาคมเป็น วันดินโลก ผู้เขียนในฐานะนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย จึงได้ท� ำหนังสือขอพระราชทานพระบรม ราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญดังกล่าว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันดินโลก ดินโลก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=