สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 143 สันทัด โรจนสุนทร การแก้ไขดินเปรี้ยว พสกนิกรของพระองค์ได้ลืมตาอ้าปาก ถึงแม้ว่าจะเป็นชาวเขาก็ตาม พระองค์มีรับสั่งว่า งานชาวเขานั้นจะต้อง ๓๐ ปีขึ้นไป เพราะเราจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ซึ่งเป็นเรื่องส� ำคัญที่ต้องท� ำ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงท� ำได้งดงาม ที่เหลืออยู่อย่างแยบยลคือ ความพอเพียง เพราะนี่คือ สิ่งที่เหมาะที่สุดของโลกเรา เพียงแต่เรามักจะไม่รู้ว่าเพียงใดถึงจะพอ วันดินโลกตรงกับ ๕ ธันวาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ วันดินโลกนั้นตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงรับการถวายพระเกียรติยศนี้ ทั้งนี้ เพราะพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงงานเกี่ยวกับดินเพื่อพสกนิกรของพระองค์ เมื่อเริ่มต้นเรื่องดินซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ได้ปรากฏแก่ สายตาชาวต่างประเทศอย่างแท้จริง เมื่อได้มีการประชุมของสหพันธ์วิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกคือ ครั้งที่ ๑๗ เมื่อวันที่ ๑๔-๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (ค.ศ. ๒๐๐๒) การประชุม ครั้งนั้นมีชาวต่างชาติเข้าประชุมถึงประมาณ ๑,๐๐๐ คน และชาวไทยประมาณ ๗๐๐ คน และได้มีนิทรรศการ ที่ส� ำคัญยิ่งเรื่องกิจกรรมทางด้าน “พระราชกรณียกิจที่แสดงถึงการเป็นผู้น� ำที่มุ่งมั่นและยอมรับการ พัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในประเทศไทย” (His Majesty The King’s Vision Leadership and Commitment on Sustainable Land Development Activities in Thailand) นิทรรศการครั้งนั้น ท� ำให้คณะกรรมการดินโลกและชาวต่างประเทศรับทราบ และรับรู้ถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเรื่องดินในประเทศไทย ทางด้าน การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางดินที่เสื่อมโทรม มาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ หรืออาจถือได้ว่า ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์มากว่า ๕๐ ปี และในตอนนั้นคณะกรรมการฯ เห็นด้วยกับการที่จะขอ ให้วันที่ ๕ ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น วันดินโลก แต่ไม่มีผู้ใดสานต่อ จากนั้นมีการประชุมดินโลกที่ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๔) คณะกรรมการฯ ยังมีความเห็นเหมือนเดิมแต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง การทรงงานทางด้านดินมาถึง ๕๐ กว่าปี โดยทรงตระหนักว่า ดิน น�้ ำ ป่าไม้ และคน เป็นส่วน ของสิ่งแวดล้อมและเป็นธรรมชาติที่แยกกันไม่ออก คงต้องยอมรับว่าหากไม่มี ดิน ชาวบ้านจะปลูกพืชไม่ได้ เช่นกัน หากไม่มี น�้ ำ เราจะปลูกพืชไม่ขึ้น และถ้าไม่มีดินทุกอย่างจะไม่มีไปด้วย ดังนั้นการอาศัยซึ่งกันและ กันจึงเป็นสิ่งที่จ� ำเป็น การงอกงามดีของพืชต้องอาศัย ปุ๋ย เป็นหลักส� ำคัญ ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิด การอาศัยซึ่งกันและกัน จะเห็นได้ว่าการมีหรือไม่มีเป็นองค์รวมที่เป็นส่วนส� ำคัญของธรรมชาติ การมี ป่าไม้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=