สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 128 วิจารณ์ผลการทดลอง การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้รับจากบริษัททางการค้าเป็นโคบอลต์ออกไซด์ (Co 3 O 4 ) ที่ติดอยู่บนผิวของ ตัวรองรับอะลูมินา โคบอลต์ออกไซด์นี้ยังไม่เป็นแบบกัมมันต์ดังผลวิเคราะห์ด้วยเครื่อง XRD ที่แสดงไว้ใน รูปที่ ๙ จ� ำเป็นต้องก� ำจัดออกซิเจนออกจากโคบอลต์ออกไซด์ด้วยกระบวนการรีดักชัน วิธีด� ำเนินการ ลดออกซิเจนท� ำโดยน� ำตัวเร่งที่ไม่เป็นแบบกัมมันต์บรรจุลงในคอลัมน์ ให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิ ๔๕๐ องศา เซลเซียส แล้วผ่านแก๊สไฮโดรเจนเข้าไปเพื่อให้ท� ำปฏิกิริยากับโคบอลต์ออกไซด์ ได้เป็นโคบอลต์แบบกัมมันต์ ส� ำหรับสร้างท่อนาโนคาร์บอน ดังสมการข้างล่างนี้ รูปที่ ๙ ผลการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ยังไม่ได้ลดจ� ำนวนออกซิเจน เม็ดตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผ่านกระบวนการรีดักชันแล้วมีขนาดสม�่ ำเสมอดังแสดงในรูปที่ ๑๐ มีเส้น ผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย ๘๑.๔ ไมโครเมตร มีโคบอลต์แบบกัมมันต์บนตัวรองรับร้อยละ ๓.๓ โดยน�้ ำหนัก และ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖.๑ นาโนเมตร เม็ดตัวเร่งปฏิกิริยามีความหนาแน่น ๓.๓ กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องใช้ความเร็วของแก๊สต�่ ำสุดเพื่อให้เม็ดตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดเป็นฟลูอิไดซ์เบดเท่ากับ ๐.๒๙ เซนติเมตรต่อ วินาที การผลิตท่อนาโนคาร์บอนในฟลูอิไดซ์เบดบนตัวเร่งโคบอลต์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=