สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 127 เทอร์มอคัปเปิลที่สอดไว้ในคอลัมน์สูงจากแผ่นกระจายแก๊ส ๔๐๐ มิลลิเมตร จากนั้นป้อนแก๊สผสมเอทิลีน ไนโตรเจน และไฮโดรเจน ที่ความเข้มข้นตามก� ำหนด ให้มีความเร็วของแก๊สผสมในคอลัมน์ประมาณ ๘ เท่า ของความเร็วต�่ ำสุดที่ท� ำให้เม็ดตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดเป็นฟลูอิไดซ์เบด แก๊สเอทิลีนแตกตัวออกเป็นไฮโดรเจน และอะตอมคาร์บอน ซึ่งจะก่อตัวเป็นท่อนาโนคาร์บอนบนตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์อย่างต่อเนื่อง ความดันตกของเบดจะเพิ่มตามไปด้วย จนถึงช่วงที่ความดันตกมีอัตราการเพิ่มอย่างรวดเร็ว เป็นขณะที่เบด ฟลูอิไดเซชันเปลี่ยนเป็นเบดนิ่ง แสดงว่าท่อนาโนคาร์บอนเกิดขึ้นระยะนี้น้อยมาก ต้องหยุดการทดลอง โดยเลิกให้ความร้อน ปิดแก๊สไฮโดรคาร์บอน แก๊สไฮโดรเจน แต่ยังป้อนแก๊สไนโตรเจนอยู่ ปล่อยให้เบด เย็นตัวจนถึงอุณหภูมิห้อง น� ำท่อนาโนคาร์บอนที่ผลิตได้ไปวิเคราะห์หาสมบัติต่าง ๆ รูปที่ ๘ แสดงการจัดวางอุปกรณ์การทดลอง สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ, สมโภช ภู่พีระสุพงษ์, บริจิต โกซัท
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=