สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 126 คาร์บอนก็มาเชื่อมต่อกับท่อนาโนท� ำให้ท่อยาวขึ้น ดังแสดงในรูปที่ ๗ (ก) แนวทางที่สองได้ให้ความเห็นว่า แก๊สไฮโดรคาร์บอนมาพบกับตัวเร่งปฏิกิริยาแล้วแตกตัวได้แก๊ส ไฮโดรเจนลอยตัวหนีไป เหลือแต่อะตอมคาร์บอนเกาะอยู่กับตัวเร่ง โมเลกุลอื่นของแก๊สไฮโดรคาร์บอน ที่อยู่ใกล้ตัวเร่งก็จะแตกตัวต่อจากอะตอมคาร์บอน แล้วก็ก่อตัวต่อจากอะตอมคาร์บอนที่เกาะอยู่กับตัวเร่ง ไปเรื่อย ๆ ได้เป็นท่อนาโนดังแสดงในรูปที่ ๗ (ข) รูปที่ ๗ การเกิดท่อนาโนคาร์บอนและการก่อตัวของท่อนาโนคาร์บอน ( Kumar, 2011 ) การด� ำเนินการทดลอง อุปกรณ์ คอลัมน์ฟลูอิไดเซชัน ท่อและวาล์วต่าง ๆ สร้างด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม 304L คอลัมน์ ฟลูอิไดเซชันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕๐ มิลลิเมตร สูง ๑,๐๐๐ มิลลิเมตร ด้านล่างของคอลัมน์มีแผ่น กระจายอากาศเป็นแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมเจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔๐ ไมโครเมตร ใช้ ๒ แผ่นวางซ้อน เหลื่อมกัน รูปที่ ๘ แสดงการจัดวางอุปกรณ์การทดลอง การทดลองเริ่มโดยการป้อนเม็ดตัวเร่งปฏิกิริยาเข้าไว้ในคอลัมน์ แล้วอุ่นเตาด้วยลวดไฟฟ้าที่พัน รอบเตา ให้ร้อนจนได้อุณหภูมิ ๔๕๐ องศาเซลเซียส พร้อมกับป้อนแก๊สไฮโดรเจนเพื่อไล่แก๊สออกซิเจนออก จากระบบและท� ำการแคลไซส์ตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเป็นโคบอลต์เกาะติดบนตัวรองรับอะลูมินา ให้ได้โคบอลต์ บริสุทธิ์ จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิให้ได้ ๕๐๐ องศาเซลเซียสจนถึง ๗๕๐ องศาเซลเซียสโดยการควบคุมด้วย การผลิตท่อนาโนคาร์บอนในฟลูอิไดซ์เบดบนตัวเร่งโคบอลต์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=