สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 113 จงรักษ์ ผลประเสริฐ, ไกรลักษณ์ ฟักแก้ว, ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ Tamai et al. 1996 ) จากการทดลองน� ำถ่านไฮโดรที่ผลิตได้มาปรับปรุงพื้นผิวทางเคมีด้วยสารละลาย โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) เพื่อเพิ่มหมู่ฟังก์ชัน (functional group) ที่เหมาะสมส� ำหรับดูดซับทองแดง (Cu) จากน�้ ำเสีย ผลการทดลองพบว่า ถ่านไฮโดรสามารถดูดซับทองแดงได้สูงสุด ๑๘.๖ มิลลิกรัมทองแดง ต่อกรัมถ่านไฮโดร โดยมีประสิทธิภาพในการก� ำจัดทองแดงออกจากน�้ ำเสียได้ค่อนข้างสูงถึงร้อยละ ๙๓ ดังนั้น ถ่านไฮโดรที่ผลิตได้จึงสามารถน� ำมาใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนักและจุลมลสารในกระบวนการกรองน�้ ำได้ ๓.๓ กรณีศึกษาการใช้กระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันในการบ� ำบัดสิ่งปฏิกูล การประยุกต์ใช้กระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันในการบ� ำบัดสิ่งปฏิกูลส� ำหรับ เทศบาลนครนนทบุรี ซึ่งมีประชากรประมาณ ๑,๑๘๖,๔๘๖ คน ( กรมการปกครอง, ๒๕๕๖ ) มีต้นทุนการ ก่อสร้างและการด� ำเนินการ รวมถึงรายได้จากการขายผลผลิตของโรงบ� ำบัดสิ่งปฏิกูล เปรียบเทียบระหว่าง กระบวนบ� ำบัดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ถังหมักและลานตากตะกอน) กับกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไน เซชัน ดังแสดงในตารางที่ ๒ ในปัจจุบัน ปริมาณสิ่งปฏิกูลประมาณ ๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี ที่เก็บรวบรวมจากอาคาร บ้านเรือนโดยรถสูบส้วมของเทศบาลนครนนทบุรี ถูกน� ำมารวบรวมไว้ในถังหมักขนาด ๕๐ ลูกบาศก์เมตร (๓๐ บ่อ) ทิ้งไว้ประมาณ ๓๐ วัน หลังจากนั้น สิ่งปฏิกูลจะถูกปล่อยจากถังหมักลงสู่ลานตากตะกอน และ ปล่อยให้แห้ง ท� ำให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์แห้งประมาณ ๗๒,๐๐๐ กิโลกรัมต่อปี โดยมีต้นทุนการก่อสร้างและ ค่าด� ำเนินการของโรงบ� ำบัดนี้ประมาณ ๙,๔๐๐,๐๐๐ บาท และ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี ตามล� ำดับ ขณะที่รายได้ที่ได้รับจากการขายปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ ๒๑๖,๐๐๐ บาทต่อปี เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับการใช้กระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันส� ำหรับ บ� ำบัดสิ่งปฏิกูลในปริมาณเดียวกันนี้ (๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี) โดยมีสมมุติฐานดังนี้ (๑) ปริมาณความชื้น ของสิ่งปฏิกูลร้อยละ ๙๕ โดยน�้ ำหนัก (๒) อัตราการป้อนสิ่งปฏิกูลแห้งเข้าระบบทั้งหมดคิดเป็น ๔๕๐,๐๐๐ กิโลกรัมต่อปี (๓) อัตราผลผลิตของถ่านไฮโดรคิดเป็นร้อยละ ๗๕ ของสิ่งปฏิกูลแห้ง ดังนั้น สามารถผลิตถ่าน ไฮโดรได้ ๓๓๗,๕๐๐ กิโลกรัมต่อปี และ (๔) ค่าใช้จ่ายในการเก็บและการขนส่งสิ่งปฏิกูลไม่น� ำมาคิดรวม ในกรณีนี้ ดังนั้น จากสมมุติฐานเหล่านี้ ต้นทุนการก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการด� ำเนินการของกระบวนการ ไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันส� ำหรับบ� ำบัดสิ่งปฏิกูล ๓๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็นเงินประมาณ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท และ ๔,๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี ตามล� ำดับ อีกทั้งรายได้จากการขายถ่านไฮโดรเพื่อใช้ เป็นเชื้อเพลิงแข็งประมาณ ๑,๐๐,๐๐๐๐ บาทต่อปี การวิเคราะห์เบื้องต้น (ตารางที่ ๒) แสดงให้เห็นว่า การบ� ำบัดสิ่งปฏิกูลด้วยกระบวนการ ทั้งสองนี้ยังคงขาดทุนในการด� ำเนินการ แต่กระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันสามารถท� ำให้เกิด ประโยชน์ที่ส� ำคัญ ได้แก่ การควบคุมมลพิษและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากถ่านไฮโดร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=