สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๙ 107 จงรักษ์ ผลประเสริฐ, ไกรลักษณ์ ฟักแก้ว, ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ ทั่วไป ดังนั้น วิธีการบ� ำบัดทางชีวเคมี เช่น การบ� ำบัดแบบใช้ออกซิเจน (aerobic process) และการบ� ำบัด แบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic process) จึงมีประสิทธิภาพการบ� ำบัดไม่เพียงพอ และวิธีการเหล่านี้ ต้องใช้เวลาในการบ� ำบัดนาน ในทางตรงกันข้าม การบ� ำบัดสิ่งปฏิกูลโดยใช้กระบวนการไฮโดรเทอร์มัล- คาร์บอไนเซชันสามารถท� ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เวลา ๑ ถึง ๑๒ ชั่วโมง และอุณหภูมิที่ใช้ยังสามารถ ฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งหมดอีกด้วย ไม่เพียงแต่บ� ำบัดสิ่งปฏิกูลให้ปลอดภัยส� ำหรับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ แล้วเท่านั้น ถ่านไฮโดรที่ผลิตได้จากกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชันยังสามารถน� ำมาใช้งาน ด้านต่าง ๆ ทั้งในกระบวนการผลิต การเกษตร และอุตสาหกรรมเคมี เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิง ตัวเก็บพลังงาน ตัวปรับปรุงคุณภาพดิน ตัวดูดซับในการกรองน�้ ำ และตัวเร่งปฏิกิริยา ๒. วิธีด� ำเนินการ สิ่งปฏิกูลที่ใช้ในการทดลองนี้ ได้เก็บรวบรวมมาจากอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในอ� ำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้รถสูบส้วม ตัวอย่างสิ่งปฏิกูลมีความชื้นประมาณร้อยละ ๙๐-๙๕ โดยน�้ ำหนัก ถูกปรับให้มีความชื้นประมาณร้อยละ ๘๐ โดยน�้ ำหนัก ผ่านวิธีการระเหยน�้ ำออก ค่าความชื้น ดังกล่าวเหมาะสมแก่กระบวนการไฮโดรเทอร์มัลคาร์บอไนเซชัน ( Fakkaew et al. 2015 ) การทดลองนี้ ใช้เครื่องปฏิกรณ์แรงดันสูงขนาด ๑ ลิตร ท� ำจากเหล็กกล้าไร้สนิม และติดตั้งมาตรวัดความดัน ตัววัดอุณหภูมิ และท่อปล่อยแก๊ส ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวให้ความร้อนแก่เครื่องปฏิกรณ์ มีแผงควบคุมอุณหภูมิและเวลาของการ เกิดปฏิกิริยาในเครื่องปฏิกรณ์ ดังแสดงในรูปที่ ๑ ในการทดลองแต่ละครั้ง ตัวอย่างสิ่งปฏิกูลปริมาตร ๓๕๐ มิลลิลิตรถูกป้อนเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ ที่ควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ ๒๕๐ องศาเซลเซียส และมีระยะเวลาด� ำเนินการ ๕ ชั่วโมง แรงดันที่เกิดขึ้นภายใน เครื่องปฏิกรณ์ระหว่างการด� ำเนินการอยู่ในช่วง ๒๕-๓๐ บาร์ หลังจากที่ด� ำเนินการตามอุณหภูมิและเวลา ที่ก� ำหนดแล้ว เครื่องปฏิกรณ์จะถูกลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วเพื่อหยุดปฏิกิริยา โดยใช้น�้ ำหล่อเย็นในอัตรา การระบายความร้อนประมาณ ๔๕ องศาเซลเซียสต่อนาที หลังจากเครื่องปฏิกรณ์เย็นลงแล้ว ตัวอย่างแก๊ส จะถูกเก็บรวบรวม ของแข็ง (ถ่านไฮโดร) และของเหลวที่เหลืออยู่ในเครื่องปฏิกรณ์ถูกแยกโดยการกรอง สุญญากาศ (กระดาษกรองขนาด ๑.๒ ไมครอน) ถ่านไฮโดรที่แยกได้จะถูกน� ำไปอบให้แห้งในเตาอบที่อุณหภูมิ ๑๐๕ องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย ๑๒ ชั่วโมง เพื่อไล่เอาความชื้นที่เหลือออก ผลิตภัณฑ์ที่ได้ ได้แก่ ถ่านไฮโดร ของเหลว และแก๊สตัวอย่าง ถูกน� ำไปวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=