สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 3 July-September 2016 102 การใช้สารแพโคลบิวทราซอลสามารถท� ำได้โดยการพ่นทางใบ การฉีดเข้าต้น หรือการราดลงดิน แต่วิธีการให้สารแพโคลบิวทราซอลที่เหมาะสมที่สุดคือการราดลงดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งราดโดยตรงที่ โคนต้น เนื่องจากสารนี้ดูดซึมได้ดีทางราก ปริมาณการให้สารนี้ทางรากจะต้องพิจารณาขนาดของพุ่ม ต้นมะม่วงควบคู่ไปด้วย ผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดการใช้สารแพโคลบิวทราซอลกับต้นมะม่วงสามารถ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ทั้งภายในและต่างประเทศ เว็บไซต์ของไทยที่เข้าใจง่าย เช่น http://www. ku.ac.th/emagazine/april46/agri/mango.html หรือเว็บไซต์อื่น ๆ โปรดระลึกเสมอว่าสาร แพโคลบิวทราซอลเป็นสารชะลอการเติบโต การใช้สารนี้ที่ระดับความเข้มข้นสูงเกินไปหรือใช้ต่อเนื่อง เป็นเวลานานสามารถท� ำให้ต้นมะม่วงชะลอการเติบโตและอาจตายได้ในที่สุด การใช้สารเคมีบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอกติดผลนอกฤดูกาลมีข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณา ก่อนที่จะต้องตัดสินใจใช้ดังต่อไปนี้ ข้อดีของการใช้สารเคมี ๑. ท� ำให้สามารถผลิตมะม่วงนอกฤดู ๒. ได้ผลมะม่วงมีราคาสูง ข้อเสียของการใช้สารเคมี ๑. ชะลอการเติบโตของต้นมะม่วง ถ้าใช้ต่อเนื่องอาจท� ำให้ต้นมะม่วงตาย ๒. บางประเทศอาจห้ามน� ำเข้าผลมะม่วงที่มีการใช้สารแพโคลบิวทราซอล สรุป ผู้เขียนได้เล่าการปลูกมะม่วงระบบชิดพร้อมกับการตัดแต่งและการใช้สารเคมีร่วมกันเพื่อบังคับ ให้ต้นมะม่วงออกดอกและติดผลตามฤดูกาลที่ต้องการของเกษตรกรบนเกาะไหหล� ำ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน และยังได้เสนอข้อดีข้อเสียของการปลูกระบบชิดและการใช้สารเคมีเร่งการออกดอกอีกด้วย ผู้เขียนหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ส� ำหรับผู้สนใจการปลูกมะม่วง การปลูกมะม่วงที่เกาะไหหล� ำ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=