3056_5172
7 ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๗๓ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ การสร้างสุขภาวะในยุควิกฤตโลก สิ่งที่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ กำลังเผชิญอยู่คือ วิกฤตโลกสองซ้อน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาต่อเนื่องที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ คือ ๑) วิกฤตเศรษฐกิจโลก ๒) วิกฤตปัญหาโลกร้อน ทั้ง ๒ ปัญหานี้มีสาเหตุร่วมคือ การขาดวินัยในการบริโภคของมนุษย์ การขาดวินัยในการบริหารเงินของรัฐบาลและธนาคาร สาเหตุเริ่มต้น ของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกถดถอย (the great recession crisis) ครั้งใหญ่เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา โดยเกิดปัญหา subprime ฟองสบู่ซื้อบ้านแตก ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ที่ส่งเสริมให้คนอเมริกันซื้อบ้าน ชาวอเมริกันเห็นว่าบ้านสมัยนั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงพากันเก็งกำไรซื้อ บ้านกันจำนวนมาก ใน ค.ศ. ๒๐๐๙ จึงเห็นเศรษฐกิจโลกถูกเศรษฐกิจอเมริกันฉุดลง เกิดวิฤตภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ คนอเมริกันตกงานเป็นจำนวนมาก ยิ่งตกงานก็ยิ่งจ่ายหนี้ไม่ได้ วิกฤตเศรษฐกิจโลกซึ่งเริ่มที่สหรัฐฯ ได้ลามไปถึงยุโรป ซึ่งทุกวันนี้คือ ค.ศ. ๒๐๑๒ ยุโรปยังมีวิกฤตคุกรุ่น ปัจจุบันปัญหาในยุโรปก็ส่งผล ไปยังทั่วโลกซึ่งไม่สามารถส่งสินค้าออกไปสหภาพยุโรปเหมือนก่อน ปัญหาของสังคมปัจจุบันคือ จะทำอย่างไรถึงจะช่วยลดวิกฤตและเพิ่มสุขภาวะของประชาชน สิ่งที่ทำได้อย่างหนึ่งคือ เปลี่ยนเจตคติ พฤติกรรม และวิถี การมองโลกที่ไม่ถูกต้องของคน ความเป็นอยู่ของมนุษย์และวิกฤตโลก คุณภาพชีวิตในปัจจุบันโดยเฉพาะในสังคมที่พัฒนาแล้วดีกว่าในอดีตมาก แม้ชีวิตในสังคมที่กำลังพัฒนาก็ดีขึ้นมาก ในเมืองใหญ่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใน ชีวิตไม่แพ้สังคมที่พัฒนาแล้ว แม้ในชนบทหลายแห่งก็มีไฟฟ้าใช้ มีโทรทัศน์ รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ เวลาเจ็บป่วยก็มีประกันช่วยจ่าย และในประเทศไทยมี โครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล ผลพวงของความง่ายในการเข้าถึงเงินกู้คือ คนทั่วโลกมีความมุ่งหวังเดียวกันคือ หวังที่จะมีวัตถุมาปรนเปรอ โลกในยุค โลกาภิวัตน์นี้จึงเต็มไปด้วยไข้ฟุ่มเฟือย (luxury fever) คนรวยก็ซื้อของกลุ่มหนึ่ง คนมีเงินน้อยก็ซื้อของที่ถูกลง แต่ทุกคนพากันซื้อทั้งนั้น นอกจากเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว ทั่วโลกยังมีวิกฤตประชากรล้นโลก ทำให้วันหนึ่งมีเด็กในประเทศยากจนอดอาหารและป่วยตายเป็นจำนวนมาก ประชากรที่มากยังทำให้เกิดการแย่งที่ดินทำกิน มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายต้นน้ำ ก่อให้เกิดทะเลทราย สิ่งที่สร้างปัญหาวิกฤตโลกคือตัวมนุษย์เองที่ไร้วินัยในการ บริโภค และไม่รู้จักควบคุมจำนวนประชากรให้มีความสมดุล บางประเทศก็มีคนเกิดน้อยไป หลายประเทศก็มีคนเกิดมากไป สุขภาวะของประชาชนนั้นสามารถสร้างได้ ๒ วิธี คือ ๑) เพิ่มสุขภาวะทางกายภาพ (physical well-being) ๒) เพิ่มสุขภาวะทางจิตใจ หรือที่เรียกว่า สุข ภาวะเชิงอัตวิสัย สุขภาวะทางกายของคนในปัจจุบันมีมากกว่าสมัยเก่า เรามีของมาเพิ่มความสุขทางกายเป็นจำนวนมาก แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่บุคคลจะต้องสร้างคือ สุขภาพ โดยที่ต้องมีการออกกำลังกายและสามารถทำสมาธิ และเล่นโยคะ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ส่วนความสุขทางใจขึ้นอยู่กับการรับรู้และการมองโลก ไมเออร์ส บริกส์ พบว่าสาเหตุที่ทำให้บุคคลมีความสุข ๑๐ ประการ คือ ๑. ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยน แม้ความมั่งคั่งหรือความพิการ มนุษย์ก็ปรับตัวเข้ากับสิ่งเหล่านี้ได้ ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ เจตคติ คิดดี มองโลกในแง่ดี ๒. ความสามารถในการบริหารเวลาควบคุมชีวิตของตนเอง ทำให้บุคคลมีความสุข สุขภาพดี ๓. ความสามารถในการทำตัวให้มีความสุข หรือทำเป็นมีความสุข จากการศึกษาพบว่าการทำสีหน้าให้มีความสุขก็สามารถสร้างเจตคติที่ดี ๔. ได้ทำงานและมีงานอดิเรกที่ใช้ทักษะของตนเอง คนมีความสุขมักปรับตัวให้พลิ้วไปกับสถานการณ์อยู่กับการทำงานโดยไม่ปล่อยให้งานนั้นครอบงำ ๕. ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกาย ๖. นอนหลับให้เพียงพอ ๗. ให้ความสำคัญบุคคลใกล้ชิด ๘. ได้ช่วยเหลือบุคคลอื่น ๙. ได้บันทึกประจำวันถึงสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้น ๑๐. ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาหรือบริจาคช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ปัจจัยที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาวะในยามที่โลกร้อนขึ้น คือ ๑. การควบคุมพฤติกรรมบริโภค ดำรงชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ๒. ควบคุมการเพิ่มขึ้นของประชากรให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของผู้อยู่อาศัย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดแรงงานหรือประชากรล้น ๓. วิจัยและสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเรื่องโลกร้อน ๔. สร้างเจตคติใหม่ของประชาชนให้หันมาสนใจจิตวิญญาณมากกว่าวัตถุ ๕. ปรับและพัฒนาบุคลิกภาพแบบเปิดเผยในบุคคลให้มากขึ้น ๖. รณรงค์ให้มีการตื่นตัวเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ๗. การที่จิตใจมนุษย์ปรับได้ตลอดเวลาเพราะเมื่อได้แล้วก็ไม่พอใจอยากได้อีก ดังนั้น เพื่อให้ตนเองมีความสุขจงอย่าไปเปรียบเทียบตนเองกับผู้ที่มีมาก กว่าตน จงเปรียบกับบุคคลที่ด้อยกว่าตน จะได้สามารถมีความสุขและความพอเพียง การสร้างสุขภาวะในยุควิกฤตโลกนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องช่วยกัน สุขภาวะนั้นมีทั้งทางกายและทางใจ แต่ปัจจัยทางใจนั้นสำคัญมาก เพราะใจที่มีความ สุขย่อมทำให้กายสุขด้วย แต่ความสุขทางกายก็ไม่ควรถูกละเลย ด้วยมนุษย์นั้นต้องอาศัยวัตถุเพื่อการดำรงอยู่ แต่ควรจะมีความพอเพียงไม่ควรปล่อยให้วัตถุครอบงำ จิตใจที่สงบและจิตวิญญาณที่สมบูรณ์คือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์เผชิญวิกฤตโลกได้ดี รศ.นพมาศ อุ้งพระ กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายทางวิชาการ ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ Feb2014.indd 7 4/16/14 8:55:04 AM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=