3056_5172

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องตำนานสร้างโลกฉบับนี้เป็นศาสตร์ชาวบ้านที่ ผู้แต่งหลอมรวมความรู้ที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ผสมผสานกับพระพุทธศาสนา ความรู้ ท้องถิ่น และจินตนาการของผู้แต่ง กลายเป็นทุนทรัพย์ทางวัฒนธรรมของสังคมที่ยอมรับ และถือปฏิบัติ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นประเพณี พิธีกรรม และคติความเชื่อของชาวภาคใต้ จนถึงปัจจุบัน ผู้แต่งใช้ภูมิปัญญาทำให้ตำนานเรื่องนี้เป็นของขลังน่าศรัทธา เป็นอุบายให้ เห็นความสำคัญและอนุรักษ์ต้นฉบับ อีกทั้งวรรณกรรมเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นว่าความเชื่อ และพิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนเป็นภูมิปัญญาเชิงอุบายที่มีบทบาทสำคัญในการฝึกอบรมนิสัย ของผู้คนและสร้างให้มีจิตสำนึกร่วมในชุมชนเดียวกัน ให้เห็นคุณค่าของกันและกัน นอกจากนี้ ยังมีบทบาทแฝงที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถแลเห็นบางส่วนในอดีตที่ซ่อนเร้นอยู่ และให้ความคิดแก่ผู้อ่าน คือ สร้างนิสัยความเป็นคนช่างคิด ช่างเฉลียว ช่างวิเคราะห์ และช่างวิพากษ์ อันก่อให้เกิดการประเทืองปัญญาและประเทืองอารมณ์ มีสาระบางอย่าง ตกผลึกเป็นแก่นสารที่ช่วยชี้นำทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตได้ คุณค่าอันโดดเด่นของ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้แก่คุณค่าด้านคติชนวิทยา กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่แสดงถึง ความเป็นท้องถิ่นหรือความเป็นชาวบ้านภาคใต้ ทั้งนี้เพราะผู้แต่งได้ใช้ความเป็นท้องถิ่น ปรุงแต่งวรรณกรรมของตนตั้งแต่การใช้ภาษา บริบททางสังคม วัฒนธรรม จากชุมชนอัน เป็นแหล่งบ่มเพาะความเป็นตัวตนของชาวภาคใต้ วรรณกรรมเรื่องนี้ส่วนหนึ่งจึงสะท้อน ภาพความเป็นจริงของชาวบ้านทั้งในระดับผิวบนและระดับลึกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการทำความเข้าใจชุมชนได้ และหากพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์ ก็จะสะท้อนให้เห็น ถึงสภาพสังคมของกลุ่มชนในท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างที่มีคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ และคติความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่นผสมผสานกันอยู่ อีกทั้งสะท้อนการ ปฏิสัมพันธ์กับคนต่างถิ่นทั้งใกล้และไกลอันเนื่องมาจากการเมือง การปกครอง การ พาณิชย์นาวี และผนวกด้วยอารยธรรมจากตะวันออกและตะวันตก ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ศ.ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง วรรณกรรมอินเดียโบราณ ที่มีอิทธิพลต่อมรดกโลกในรัฐกรรณาฏกะ ประเทศอินเดีย ความโดยสรุปว่า วรรณกรรมอินเดียโบราณที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปได้แก่วรรณกรรมประเภทมหากาพย์และ ปุราณะซึ่งมีอิทธิพลมากต่อวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของชาวอินเดีย ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ นอกเหนือจากคัมภีร์พระเวทซึ่งมิได้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในสมัยที่ยังยึดมั่นในระบบวรรณะ มหากาพย์มหาภารตะ มหากาพย์รามายณะ และคัมภีร์ปุราณะเป็นคัมภีร์ทางวรรณกรรม ที่ชนทุกวรรณะอ่านและฟังได้ ชนทั่วไปจึงรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมหากาพย์และปุราณะดีพอ สมควร ศิลปินและช่างแกะสลักมักสร้างผลงานเล่าเรื่องราวในมหากาพย์และปุราณะอัน ถือเป็นบุญกุศลหรือการแสดงความศรัทธาในพระเป็นเจ้า มหากาพย์มหาภารตะ มีเนื้อหาจำนวนมากที่สามารถนำมาแกะสลักเล่าบนผนัง ที่ทำด้วยศิลาซึ่งหาได้ในบริเวณท้องถิ่นซึ่งใช้สร้างโบสถ์ ตอนสำคัญในเรื่องที่แกะสลักเล่า ไว้มากก็เช่น ภาพที่อรชุนแสดงฝีมือยอดเยี่ยมในการยิงธนู ตอนที่ท้าวทรุบทจัดพิธีสยุมพร ให้แก่พระธิดา คือ นางเทราปที ภาพพระกฤษณะทรงเป็นสารถีขับรถรบให้อรชุนเข้าสู่ สนามรบ ฉากสงครามมหาภารตะซึ่งวีรบุรุษฝ่ายเการพกับฝ่ายปาณฑพต่อสู้กันอย่าง ห้าวหาญ มหากาพย์รามายณะ แม้จะสั้นกว่ามหาภารตะ แต่ก็มีเนื้อหากินใจและเหมาะ แก่การนำมาเล่าเป็นรูปประติมากรรม เช่น รูปพระราม พระลักษมัณ นางสีดา หนุมาน และวานรอื่น ราวณะซึ่งคนไทยเรียกว่า ท้าวราพณาสูรหรือทศกัณฐ์ ประติมากรรม แสดงการยกทัพ การจองถนน การรบปะทะกัน วรรณกรรมประเภทปุราณะ เป็นคัมภีร์ที่เล่าเรื่องราวของเทพสำคัญในศาสนา ฮินดู รวมทั้งพระชายา ได้แก่ พระศิวะหรืออิศวรซึ่งมีพระอุมาเป็นชายา พระวิษณุซึ่งคน ไทยนิยมเรียกว่า พระนารายณ์ มีพระลักษมีเป็นพระชายา คัมภีร์ปุราณะมีหลายเล่ม เล่าเรื่องต่าง ๆ เช่น การสร้างโลกของพระวิษณุหรือนารายณ์ และถ้าอ่าน ลิลิตนารายณ์ สิบปาง พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็จะทราบเรื่องราว พระวิษณุอวตารได้ครบถ้วน ทำให้เข้าใจรูปแกะสลักต่าง ๆ บนผนังโบสถ์ฮินดูในรัฐ กรรณาฏกะได้ ปางสำคัญที่มักเห็นสลักเล่าตามโบสถ์ต่าง ๆ ได้แก่ นรสิงหาวตาร (อวตาร เป็นนรสิงห์) วามนาวตาร (อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย) รามาวตาร (อวตารเป็นพระราม) กฤษณาวตาร (อวตารเป็นพระกฤษณะ) นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีรูปสลักที่สำคัญและ พบบ่อยมากคือ พระกฤษณะและพระเคณศ ทำให้เห็นได้ชัดถึงความศรัทธาในเทพเจ้า ต่าง ๆ ของชาวอินเดียในรัฐกรรณาฏกะซึ่งเป็นชาวอินเดียใต้ ศิลปะที่ปรากฏในรัฐนี้ถือเป็นมรดกโลก ซึ่งนอกจากงดงามเก่าแก่แล้ว ยังเล่า วรรณกรรมโบราณไว้บนแผ่นศิลาสลักให้อนุชนได้รับทราบ ศ.สันติ เล็กสุขุม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง สันนิษฐานรูปแบบดั้งเดิมของ เจดีย์พระศรีมหาธาตุ นครศรีธรรมราช ความโดยสรุปว่า วัดที่ชื่อ มหาธาตุ พระ ศรีมหาธาตุ หน้าพระธาตุ หรือพระศรีรัตนมหาธาตุ บ่งถึงพระมหาธาตุเจดีย์ซึ่งเป็น ประธานของวัดในราชธานี เมืองใหญ่ หรือหัวเมืองสำคัญ โดยสมมุติหมายว่าจำลอง ศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ของจักรวาลคือพระเจดีย์จุฬามณี แห่งสวรรค์ดาวดึงส์ ซึ่ง เป็นเจดีย์สำคัญที่สุดในนิทานพุทธศาสนา การดูแลรักษา บูรณะ ปรับปรุงพระมหาธาตุ เจดีย์ให้อยู่ในสภาพครบถ้วนสมบูรณ์เป็นงานสำคัญ เพราะการบูรณะแต่ละครั้งย่อมเพิ่ม เติมเสริมแต่งให้งดงามตามยุคสมัย รวมทั้งปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม ธรรมเนียมจำเป็นที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย จากหลักฐานที่เป็นหนังสือเก่าว่าด้วยตำนานนิทานของพระมหาธาตุองค์นี้จึงมี ผู้นำเรื่องนี้มาศึกษาวิจัย บุคคลแรกคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ และต่อมาอีกหลายคน จนถึงผลการศึกษาของ ผศ. ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ได้รายงานผลวิจัยว่า พระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช ซึ่งมีเรื่องตำนานเก่าแก่กว่าพันปี คงสร้างขึ้นไม่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ด้วยลักษณะที่เกี่ยวข้องกับแบบอย่างของเจดีย์ที่มี มาก่อนในศิลปะลังกา คือฐานสูง มีแถวรูปช้างประดับ บนฐานสูงคือลานประทักษิน กลางลานมีชุดลวดบัว ๓ ชุดซ้อนลดหลั่นรองทรงระฆังขนาดใหญ่รูปโอคว่ำ บัลลังก์ สี่เหลี่ยมอยู่เหนือทรงระฆัง ยอดทรงกรวยสูงตั้งอยู่บนบัลลังก์นั้น ภายหลังมีการบูรณะเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เช่น สร้างระเบียงคดมีหลังคา คลุมบริเวณฐานของพระมหาธาตุซึ่งมีรูปช้างรายรอบอันเป็นของเดิม พระพุทธรูป ประดิษฐานที่ผนังของฐานและที่ระเบียงคด ที่สำคัญคือ บันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณ ด้านทิศเหนืออยู่ภายในวิหารพระม้า ซึ่งคงสร้างขึ้นใหม่คราวเดียวกันคือราวสมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนปลาย ดังงานปูนปั้น นูนสูง ปิดทอง ประดับผนังทางซ้ายและขวาของ บันได ปั้นเรื่องนิทานพุทธประวัติตอนเจ้าชายสิทธัตถะโพธิสัตว์เสด็จอออกทรงผนวช ผนังด้านตะวันออกควรเป็นงานช่างฝีมือเก่า คราวบูรณะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังลักษณะของมงกุฎ ลวดลายช่อดอกไม้ และลายกระหนกที่ประกอบฉาก ส่วนผนังด้าน ตะวันตกเป็นฉากเล่าเรื่องตอนเดียวกัน แต่ฝีมืออ่อนกว่ามาก บานประตูทางเข้าสู่ลานประทักษิณ เป็นงานสลักไม้ นูนสูง ลงรัก ปิดทอง บาน ทางขวามือเป็นรูปพระอินทร์ บานทางซ้ายมือเป็นรูปพระพรหม ลวดลายสลักที่ประดับ เป็นแบบเก่าเทียบได้กับลวดลายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง แต่พระพักตร์รูปพระอินทร์ และพระพรหมบ่งว่าคงเป็นงานที่ทำขึ้นใหม่ โดยอาจได้แบบจากบานประตูเก่าคราว บูรณะ อนึ่ง วิหารพระม้าและบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณซึ่งอยู่ภายในวิหารเข้าใจว่า อาจเป็นงานก่อสร้างคราวบูรณะครั้งใดครั้งหนึ่งในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วย ทั้งนี้ เพราะพระศรีมหาธาตุควรหันไปทางทิศตะวันออกตามแบบแผนประเพณีของการสร้าง วัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ดังวัดร่วมสมัยทางภาคกลาง คือที่เมืองลพบุรีและ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งหมายถึงบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณเดิมของพระศรีมหาธาตุ นครศรีธรรมราช คงอยู่ทางตะวันออก เป็นด้านหน้าของวัดด้วย ข้อสังเกตศึกษาข้างต้น ประมวลรูปแบบสันนิษฐานพระเจดีย์ศรีมหาธาตุในสมัยแรกสร้างคงมีบันไดทางขึ้นสู่ลาน ประทักษิณเฉพาะด้านตะวันออก และยังไม่มีระเบียงคดหลังคาคลุม มีเพียงแถวรูปช้าง ซึ่งเรียงรายประดับฐาน Feb2014.indd 6 4/16/14 8:55:01 AM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=