3056_5172

5 ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๗๓ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ทั้งนี้ ผู้บรรยายได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า บาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทยได้รับอิทธิพล ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากภาษาเบงกอลี ผ่านทางบัณฑิตฮินดูชาวเบงกอลีอพยพ ซึ่งเป็นผู้รู้ภาษาเบงกอลี สันสกฤต และบาลี เช่น มหาฤษี สวามี สัตยนารายณ์ ตริปาฐี ปราชญ์จากเบงกอล อดีตอาจารย์สันสกฤตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมทั้ง พบหลักฐานในนิยายเบงคลีของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีปด้วย และน่าจะมาพร้อมกับ ศาสนาฮินดูนิกายไวษณวะ ดังเห็นจากพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา อิทธิพลนี้อาจผ่านเข้ามาทางวัฒนธรรมของชนชาติใกล้เคียง (โดยเฉพาะมอญ พม่า และ ขอม) ก่อนเข้ามาสู่กระแสวัฒนธรรมไทย ข้อมูลเกี่ยวกับเบงกอลและภาษาเบงกอลี เบงกอล (Bengal) เป็นชื่อแคว้นซึ่งเดิมอยู่ในอินเดีย ต่อมาเมื่ออินเดียได้รับ เอกราช ได้แยกประเทศออกเป็นอินเดียกับปากีสถาน โดยเบงกอลตะวันตกยังอยู่ใน อินเดีย ส่วนเบงกอลตะวันออกรวมอยู่ในปากีสถาน ซึ่งภายหลังเรียกว่า ปากีสถานตะวัน ออก และเมื่อปากีสถานตะวันออกได้รับเอกราช ได้แยกประเทศออกมาแล้วตั้งชื่อใหม่ว่า “บังกลาเทศ” (Bangladesh) ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า ชื่อ Bengal อาจมาจากชื่อ ชนเผ่า Bang ซึ่งพูดภาษาตระกูลทราวิฑ (Dravidian) หรืออาจมาจากชื่อแคว้น Vanga (วังคะ) ซึ่งในภาษาสันสกฤตเมื่อเกิดการกลายเสียง v > b จึงเรียกเป็น Banga (พังคะ) ต่อมาเติม la ปัจจัยเข้าไปเป็น Bangala นอกจากนี้ ในบันทึก Marco Polo ค.ศ. ๑๒๙๘ เรียกเบงกอลว่า Bangala และต่อมาในบันทึก Vasco da Gama ค.ศ. ๑๔๙๘ เรียกเบงกอลว่า Bemgala ซึ่งมีการกลายเสียง a > e แล้ว จึงเป็นที่มาของ Bengal ใน ปัจจุบัน ภาษา Bengali (เบงกอลี) เป็นภาษาอินอารยันยุคกลาง ซึ่งมีวิวัฒนาการที่ เกี่ยวข้องกับภาษาปรากฤตหรือภาษาพื้นเมืองที่ใช้เป็นภาษาพูดซึ่งรวมถึงภาษาบาลีด้วย ภาษาเบงกอลีหรือเรียกตามเจ้าของภาษาว่า บางลา (Bangla) ชื่อเรียกพยัญชนะ เบงกอลีประสมสระ [ออ] ซึ่งชื่อพยัญชนะไทยก็เช่นเดียวกัน แม้กระทั่งตัวเขียนบางตัวมี ลักษณะคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ เสียงสระอะในภาษาสันสกฤตมีการกลายเสียงเป็นเสียงสระ อื่น ๆ ในภาษาเบงกอลี ดังนี้ -กลายเป็นเสียง เอาะ/ออ น่าจะเป็นที่มาของการอ่านออกเสียงคำที่รับ มาจากบาลีสันสกฤตบางคำในภาษาไทย เช่น ธรณี อ่านว่า ทอ-ระ-นี คำที่ประสมด้วย a + r [อะ + ร] เมื่อลงท้ายคำออกเสียงเป็น [ออ-ร] หรือ [ออน] เช่น อาทร ศร อรดี ซึ่งเหตุนี้เองที่ทำให้คนทั่วไปนิยมออกเสียงคำบาลีสันสกฤตเป็น ๒ แบบ ทั้ง อะ และ ออ เช่น กรณี อ่านว่า กะ-ระ-นี หรือ กอ-ระ-นี -กลายเป็นเสียง โอะ/โอ เช่น มน หมายถึง ใจ ซึ่งเหมือนกันทั้งรูปคำ วิธี ออกเสียง และความหมาย จึงทำให้คิดได้ว่าน่าจะมีอิทธิพลทางอ้อมต่อวิธีเขียนและวิธี ออกเสียงแบบ “โอะ ลดรูป” ในคำไทยที่ยืมจากบาลีสันสกฤต เช่น สนธยา มงคลวาร ฉะนั้น คนทั่วไปจึงนิยมออกเสียงคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตในบางพยางค์ที่มีสระอะ ประสมอยู่แต่ไม่ปรากฏรูปเป็น “โอะ ลดรูป” -ในภาษาเบงกอลีนิยมตัดเสียงสระอะท้ายคำ ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อวิธีการ ออกเสียงคำไทยที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่ตัดสระอะท้ายคำแล้วออกเสียงเป็นตัว สะกดแทน เช่น ยม อย่างไรก็ดี ยังมีหลักฐานอื่น ๆ ที่สนับสนุนว่าการออกเสียงคำไทยที่รับมาจาก ภาษาบาลีสันสกฤตนั้นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเบงกอลี ดังนี้ -ว แผลงเป็น พ เช่น วิวิธ เป็น พิพิธ -บ, ว กลายเป็น บ -สระอะ กลายเป็นสระเอ เช่น ปญฺจ เป็น เบญจ -เสียงอนุนาสิกะ (m) ในภาษาเบงกอลีกับนิคหิต (m) ในภาษาบาลี ออก เสียงเป็น ง สะกด ไม่ใช่ ม สะกดอย่างในภาษาสันสกฤต -ฤ ในคำยืมจากภาษาสันสกฤตเฉพาะคำที่ออกเสียงเป็น [ริ] ได้รับอิทธิพล จากภาษาเบงกอลี เช่น ฤทธิ์ ตฤณ ทฤษฎี -เลข ๒ ในภาษาเบงกอลีซึ่งใช้เมื่อวางท้ายคำที่ต้องการซ้ำคำ ซึ่งอาจเป็น ที่มาของการใช้เครื่องหมายยมก เนื่องจากยมกในภาษาไทยแปลงรูปมาจากเลข ๒ ใน ภาษาไทยเช่นเดียวกัน การศึกษาวิจัยภาษาดังกล่าวข้างต้นใช้วิธีการ ๕ ส คือ สังเกต (observe) สงสัย (question) สันนิษฐาน (hypothesize) สืบสอบ (investigate) สรุป (conclude) ผลพลอยได้จากการศึกษา -วิธีใช้อักษร บ, ด, ก ในภาษาไทยที่นำมาวิเคราะห์ใหม่ โดยวิเคราะห์จากคำที่ ประสมด้วยอักษรดังกล่าวที่เป็นคำไทย คำที่รับมาจากภาษาบาลีสันสกฤต และคำที่รับมา จากภาษาอังกฤษ/ยุโรป เช่น บ ในภาษาไทย อย่างบ้าน บ จากคำบาลีสันสกฤตอย่าง บาน (ในคำว่า สุราบาน) มาจากคำว่า ปาน บ จากคำภาษาอังกฤษ อย่าง บาร์น barn -วิธีถอดอักษร (transliteration) อาจขัดหรือปนกับวิธีถ่ายเสียง (tran- scription) ในการเขียนชื่อเฉพาะและคำยืมจากภาษาอินเดียที่เขียนด้วยอักษรโรมันใน ภาษาอังกฤษ/ยุโรป เช่น Bangladesh > แบงกลาเดช (เลียนแบบภาษาอังกฤษ) > บังกลาเทศ (แบบผสมกับภาษาไทย) Kashmir > แคชเมียร์ (เลียนแบบภาษาอังกฤษ) > กัศมีระ (ชื่อตามภาษาสันสกฤต) ๏ วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ศ.ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ : ตำนานสร้างโลกฉบับป่าลาม ความโดยสรุปว่า วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่บันทึกลง ในหนังสือบุด (หรือสมุดข่อย) เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นท้องถิ่นระดับลึก อย่างหลากหลายและพิสดาร เป็นเครื่องประเทืองปัญญาและประเทืองอารมณ์ของผู้คน ร่วมสมัยและผู้คนรุ่นหลัง ตำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลามเป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจยิ่ง มีเนื้อหา แปลกไปจากตำนานสร้างโลกฉบับอื่น ๆ พระอิศวรและพระอุมาตัวเอกของเรื่องเป็นองค์ ปฐมของบรรดาสัตว์และพืชพันธุ์ที่มีขึ้นมาในโลก สร้างขึ้นจากเทวฤทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ ของเหล่าเทพยดาซึ่งมีพระอินทร์เป็นองค์ประธานในการชุบสรรค์ขึ้นมา จึงเป็นตำนานที่ ค่อนไปทางฮินดูลัทธิไศวนิกาย เห็นถึงความเป็นฮินดูลัทธิศักติ และความเป็นพุทธ มหายาน ลัทธิตันตระ-วัชรยาน ตำนานเรื่องนี้ บันทึกในหนังสือบุดขาว ขนาด ๑๒ × ๑๗ เซนติเมตร พบที่ตำบลช้างไห้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาตรงกันพบที่บ้านทุ่งลัง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ตำนานสร้างโลก ฉบับบ้านป่าลามไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและวันเดือนปีที่แต่ง เป็นหนังสือบุดขาว สภาพ ต้นฉบับชำรุดในส่วนกลางเล่มและหน้าปลายไปบ้าง เขียนบรรยายด้วยร้อยแก้ว มีร้อย กรองแทรกอยู่บ้าง ส่วนที่เป็นคาถาที่ใช้ในพิธีกรรมเขียนด้วยอักษรขอม เนื้อเรื่องของ ตำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลามแบ่งได้เป็น ๓ ส่วน ดังนี้ ส่วนต้น หลังจากขึ้นต้นด้วย “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส” แล้ว กล่าวถึงหญิงชายที่จะอ่านหรือเรียนตำนานฉบับนี้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะเป็น มงคล ต่อจากนั้นกล่าวทำนองสาปแช่งผู้ที่ไม่เชื่อตำรานี้และไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ลำดับต่อ ไปกล่าวถึงการเก็บรักษาและการปฏิบัติต่อตำรา ส่วนเนื้อเรื่อง เป็นการสร้างโลก กล่าวถึงพระอินทร์ พระพรหม พระเพ็ด สะหนูกัน พระขีณาสพ พระปัจเจกโพธิ และเทวดา มาประชุมและพร้อมใจกันเนรมิต เทวบุตรคือ “พระบอริเมนสูน” ต่อจากนั้นพระบอริเมนสูนได้สร้างโลกโดยสร้างแผ่นดิน พระมหาสมุทร พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระพาย ปลาอานน แม่น้ำ ลำคลอง บาง ท่า ต้นไม้ เส้นหญ้า ตลอดจนสร้างพระอิศวรและพระอุมาขึ้น พระอิศวรและพระอุมาเป็น มนุษย์หญิงชายคู่แรกของโลก อยู่ด้วยกันนานถึง ๑๒ ปีเศษโดยไม่มีความรู้สึกในทางเพศ พระอินทร์จึงเสกผลหว้าให้กิน ทั้งสองจึงเกิดความกำหนัดและมีลูกถึง ๑๒ คน ทั้ง ๑๒ คนได้แต่งงานกันเอง ลูกคนแรกแต่งงานกับน้องสาวคนถัดมา เมื่อทั้งสองสมสู่กันก็สิ้นใจ ตายไปเกิดเป็นต้นข้าวหรือแม่โพสพ เป็นอาหารเลี้ยงดูมนุษย์โลก ลูกของพระอิศวรและ พระอุมาทั้ง ๑๒ คนต่างพูดจาคนละภาษา จึงเป็นที่มาของ ๑๒ ชาติ ๑๒ ภาษา และ เป็นต้นเหตุแห่ง ๑๒ นักษัตร จากนั้นเหล่าเทวดาทั้งหลายได้เนรมิตให้เกิดวันเดือนปี ทิศ ๘ ทิศ และทวีป ๔ ทวีป ลูกของพระอิศวรและพระอุมาได้ให้กำเนิดบุตรหลานสืบต่อ มาจนกลายเป็นพลโลกในปัจจุบัน ส่วนท้าย กล่าวถึงการเกิดพิธีกรรมทั้งหลายอันเป็นปฐมแห่งคติความเชื่อ และพิธีกรรมในเวลาต่อมา เช่น เรื่องการเกิด การแต่งงาน งานมงคลต่าง ๆ การตาย และการประกอบพิธีศพ การทำไร่ทำนา ฯลฯ จากเนื้อเรื่องดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องการสร้างโลกจาก “คัมภีร์ นารายณ์ ๒๐ ปาง” ที่เก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร แล้วจะเห็นได้ว่า เนื้อเรื่องของ ๒ ตำนานมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็มีที่มาจาก ตำนานสร้างโลกของอินเดีย เพียงแต่ว่าตำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลาม ผู้แต่งได้ขยาย ความให้พิสดารมากยิ่งขึ้นฺฺฺฺฺฺ Feb2014.indd 5 4/16/14 8:54:59 AM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=