3056_5172

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เกี่ยวข้องอย่างมากกับการสูญเสียเนื้อฟัน คือ กรด ช่องปากได้รับกรดจากภายนอกและภายในร่างกาย ได้รับกรดจากสิ่งแวดล้อม ภายนอก เช่น จากอาหารที่มีรสเปรี้ยว จากเครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เครื่องดื่ม บำรุงกำลัง หรือเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนต หรือจากยาบางชนิด เช่น วิตามินซีชนิดเคี้ยว ส่วนการได้รับกรดจากภายในร่างกาย เกิดขึ้นจากกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาในช่อง ปาก จากการเรอ การสำรอกอาหาร จากโรคบางชนิด เช่น anorexia nervosa หรือ จากโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน มีชื่อเต็มเรียกว่า gastroesophageal reflux disease หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า gerd มีอุบัติการณ์ค่อนข้างสูงในต่างประเทศ คือประมาณร้อยละ ๕๐-๖๐ ส่วนในประเทศไทยพบมีประมาณร้อยละ ๑๐ เพิ่มขึ้นจากเมื่อ ๕ ปีก่อนถึงร้อยละ ๕๐ โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร หรือช่องปาก ส่งผลให้มีอาการระคายบริเวณลำคอและ หลอดอาหาร ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบในช่องอกบริเวณหัวใจ หรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ รวม ทั้งมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร สาเหตุ หลักของโรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง โดยที่ไม่มีการกลืน หรือความดันของ หูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัว ของกระเพาะอาหารได้ กรดที่ไหลย้อนเข้าสู่ช่องปากทำให้สภาพช่องปากมีความเป็นกรด มากเกินไป บ่อยเข้าก็มีผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันละลาย (เคลือบฟันและเนื้อฟันเริ่ม ละลายเมื่อ pH 5.5 หรือต่ำกว่า แต่กรดจากกระเพาะมี pH 2) สภาพเช่นนี้ในระยะ แรกจะไม่มีอาการ แต่นานเข้าฟันกร่อนมากขึ้น โดยเฉพาะฟันหน้าบน ฟันเปลี่ยนเป็นสี เหลืองเข้มขึ้น อาจมีรอยร้าว เสียว ผุ เนื้อฟันด้านสบกัดกร่อนเป็นรอยหวำ อาจทะลุ โพรงประสาทฟัน เรียกกระบวนการเหล่านี้ว่าเป็นฟันกร่อนเนื่องจากโรคกรดไหลย้อน ซึ่ง รักษาได้ด้วยการบูรณะฟันและควบคุมโรคกรดไหลย้อนไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การ ป้องกันมิให้ฟันกร่อนจะเป็นการดีกว่าหากผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง การตรวจพบการกร่อนของฟัน อาจนำไปสู่การตรวจพบโรคกรดไหลย้อน และใน ทางกลับกันผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนก็ควรได้รับการแนะนำ ไม่เพียงการปฏิบัติตนให้ลด อาการกรดไหลย้อนเท่านั้น แต่ให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อฟัน รวมทั้งรู้จักการป้องกัน และวิธีการแก้ไขด้วย ศ. ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง หายนะที่เลวร้ายของผึ้ง จากโรค CCD ความโดยสรุปว่า โรค Colony Collapse Disorder (CCD) หรือโรค ตายทั้งรัง เป็นโรคที่ทำให้ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) ล้มตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาเรื่องโรค CCD ในผึ้งถึง ร้อยละ ๔๓ อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ผึ้งตาย สารเคมีกำจัดศัตรูพืชชนิดใหม่ที่ชื่อว่า neonicotinoids อาจเป็นอันตรายต่อผึ้งทั้ง ๆ ที่ในอดีตสารนี้ได้ชื่อว่าเป็นสารสังเคราะห์ มีการใช้ในระดับที่ปลอดภัย ในช่วงแรกที่เกิดโรค CCD นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการกำจัด ไรวาร์รัวซึ่งเป็นศัตรูของผึ้งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรค CCD แต่เมื่อมีการใช้สาร ชีวภาพซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผึ้งในการกำจัดไรวาร์รัวแล้ว ยังคงพบการกระจายของ โรค CCD ในผึ้งมากขึ้นไปอีก ในปัจจุบันการเกษตรปลูกพืชเป็นพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ซึ่งพืชเหล่านี้จะผลิตเกสรปนเปื้อนสารเคมีให้ผึ้ง ทำให้ผึ้งถึงแก่ ความตาย ถ้าเราไม่ทำอะไรบางอย่างอาจจะไม่มีผึ้งเพียงพอต่อการผสมเกสรสำหรับพืช เศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละปีผลที่ตามมาจะมีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปถึง ๑๐๐,๐๐๐ ชนิด และหนึ่งในนั้นอาจจะเป็นผึ้งที่จะสูญพันธุ์อย่างถาวรไปจากโลกใบนี้ด้วย ศ. กิตติคุณ ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต ร่วมกับ ดร.จรสพร เฉลิมเตียรณ สำนักการเงินการคลังอาเซียน กระทรวงการคลัง บรรยายเรื่อง ภาวะ โลกร้อนกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ความโดยสรุปว่า ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาต่อ มนุษยโลกในแง่มุมต่าง ๆ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจเป็นองค์รวมของผลร้ายจากภาวะโลก ร้อน เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ควรมีการวิเคราะห์ช่องทางที่ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้อย่างไรบ้าง ซึ่ง อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจอาจแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ผล กระทบที่เกิดจากความเสียหายด้านต่าง ๆ และผลกระทบที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการ ป้องกันความเสียหายและยับยั้งการเกิดโลกร้อนในอนาคต ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดจากความ เสียหายที่อาจเกิดขึ้นจะมีมูลค่าสูงกว่าการใช้จ่ายในการป้องกัน อย่างไรก็ตาม มีข้อ สังเกตว่าในช่วงแรกอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอาจเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ เช่น ช่วยให้ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ในระยะยาว ความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้นจากภาวะโลกร้อนจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว สำนักศิลปกรรม ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง พินิจกามิกศิลป์ ความโดยสรุป ว่า กามิกศิลป์เป็นคำที่มาจากศิลปะตะวันตก erotic art ซึ่งมีรูปแบบและเนื้อหาแสดง การร่วมเพศ ในประเทศอินเดียมีผลงานศิลปะลักษณะนี้ที่สำคัญคือ ประติมากรรมศิลา จำหลักที่เทวาลัยขชุรโห (Khajuraho) รัฐมัธยประเทศ ระหว่าง ค.ศ. ๙๕๐-๑๐๕๐ ประกอบด้วยเทวาลัย ๘๕ หลัง ปัจจุบันเหลือเพียง ๒๒ หลัง กามิกศิลป์ที่เทวาลัยขชุรโห เป็นไปตามแนวคิดของลัทธิตันตระผสมกับลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายในศาสนา พราหมณ์ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงที่เป็นเอกภาพ ความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับจักรวาล เข้าสู่ความเป็นสากลเรื่องอาตมันและปรมาตมัน ตามคัมภีร์กาลาม- สูตร โดยเพิ่มแนวคิดเรื่องความสมบูรณ์ (perfection) ความประสานกลมกลืน (harmony) ของเรือนร่างมนุษย์ รูปสลักกามิกศิลป์ที่เทวาลัยขชุรโหแสดงให้เห็นการ บรรลุความสำเร็จสูงสุดของช่างชาวอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ ชาวอินเดียให้ความสำคัญเรื่องกามารมณ์มานานกว่า ๓๐๐๐ ปี ในศาสนา พราหมณ์เรียกความความต้องการทางเพศว่า กาม หรือ กามะ (Kama) เช่นเดียวกับ กาม ในภาษาไทย ชาวอินเดียพยายามแสวงหาแนวทางแห่งความพึงใจในกามเรื่อย มา จนมีผู้คิดประดิษฐ์ท่าทางการร่วมเพศอย่างพึงพอใจเป็นสูตร เรียก กามสูตร (Kamasutra) ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คัมภีร์กามสูตร (The Kama Sutra) ที่สำคัญเขียนเป็นภาษาสันสกฤตชื่อ “วาตสยายน กามสูตร” ว่าด้วยการศึกษาเรื่องเพศและพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ เขียนโดย วาตสยายน ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นมาตรฐานการแสดงความรักและความพึง พอใจทางเพศขั้นสูง แสดงท่าทางการร่วมเพศไว้ ๖๔ ท่า เรียกว่า ศิลปะทั้ง ๖๔ ท่า วาตสยายนเชื่อว่ากามสูตรไม่ใช่สิ่งผิดหรือลามกอนาจาร เพราะไม่ผิดศีลธรรม เป็นความ พึงพอใจในกามารมณ์ (sensual or sexual pleasure) แนวคิดนี้จิตรกรได้แสดงออก เป็นภาพจิตรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ กัน ในประเทศจีนมีกามิกศิลป์ปรากฏในสมัยราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ราว ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ เป็นภาพที่เสนอความงามของสตรีเพศทั้งสามัญชนและสตรี ในราชสำนักมากกว่าเรื่องเพศ ต่อมาจึงคลี่คลายเป็นภาพกามิกศิลป์ ภาพจิตรกรรม กามิกศิลป์ของจีนเป็นแบบจิตรกรรมตะวันออก คือ ระบายสีเรียบ ๆ แสดงรูปทรงด้วยเส้น รอบนอก มีทั้งที่เขียนบนผ้าและเขียนบนผ้าไหม มักมีขนาดเล็ก ประเทศญี่ปุ่นมีงานกามิกศิลป์โดดเด่น โดยเฉพาะภาพพิมพ์ที่นำเสนอชีวิตของ เกอิชา นักแสดง ชาวเมือง ที่มีลักษณะเป็นการยั่วยวนทางเพศ เรียก ชุนงะ (shunga) ส่วนมากเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพลักษณะนี้มักเป็นภาพชีวิตในราชสำนักที่มีแต่ความ รื่นรมย์ในกามารมณ์ ภาพพิมพ์ญี่ปุ่นอีกประเภทหนึ่งที่แสดงการร่วมเพศอย่างโจ่งแจ้งหรือเห็นเรือน ร่างบางส่วนของสตรี จนถึงกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ สระผม แต่งหน้า เรียก อะบุนะ-เอะ (Abuna-e) เป็นภาพพิมพ์สี สร้างขึ้นราว ค.ศ. ๑๗๗๒ หลังจากนั้นถูกห้าม เผยแพร่ไประยะหนึ่ง แต่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ในประเทศไทยพบภาพกามิกศิลป์แทรกอยู่ในงานจิตรกรรมฝาผนัง เป็นการ แสดงอารมณ์ขันของศิลปินมากกว่าแสดงการร่วมเพศชัดเจน เช่น ภาพมารที่เสื้อผ้าหลุด เห็นเรือนร่างและอวัยวะ ภาพการสังวาสกันของสัตว์ หรือเป็นเพียงการเกี้ยวพาราสีกัน ตัวอย่างเช่น จิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วัดชมภูเวก อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี เป็นศิลปะ อยุธยา สกุลช่างนนทบุรี จิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดภูมินทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน ศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ก [อ] ข [อ] มาจากไหน From whence came k [ ] kh [ ] ? ความโดยสรุปว่า พยัญชนะภาษาไทยรับ มาจากพยัญชนะภาษาบาลีสันสกฤต ประกอบกับสร้างอักษรเพิ่มอีก เช่น ฃ ซ ฎ ด รวมทั้งหมดเป็น ๔๔ ตัว จากข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือแบบเรียน ก ไก่ ข ไข่ และ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พบว่าการออกเสียงพยัญชนะไทยเป็นเสียง [อ] ซึ่งแตกต่างจากการออกเสียงพยัญชนะภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงเป็น [อะ] จึงเกิด ข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงออกเสียงพยัญชนะไทยเป็นเสียง [อ] และจากการศึกษาพบว่าใน ภาษาเบงกอลีซึ่งเป็นภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาสันสกฤตออกเสียงพยัญชนะเป็นเสียง [อ] c c Feb2014.indd 4 4/16/14 8:54:57 AM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=